นกหัวขวานแคระอกเทา

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 23:24, 30 มกราคม 2563 โดย Kangkrungbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Picidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Hemicircus concretus '' (T...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Grey-and-buff.jpg

วงศ์:Picidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Hemicircus concretus (Temminck) 1821.
ชื่อสามัญ:Grey-and-buff Woodpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Grey-breasted Woodpecker

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemicircus concretus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษา ละตินสมัยใหม่คือ concreta หรือ concretus แปลว่าใหญ่หรือแข็งแรง ความหมายคือ “นกที่แข็งแรง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกหัวขวานแคระอกเทา 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Hermicircus concretus standidas (Eyton) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ sard, -id แปลว่าสกปรก ความหมายคือ “นกที่มีสีสันไม่สดใส” พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย

กระจายพันธุ์ :ในพม่า ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะชุนตาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (12-13 ซม.) ตัวเต็มวัยบริเวณหัว พุ่มหงอนขน และลำตัวด้านล่างสีเทาเข้ม บริเวณท้องสีเทามีลายสีเนื้อ ลำตัวด้านบนสีดำมีลายคล้ายเกล็ดสีเนื้อ ตะโพกสีขาว บริเวณ กระหม่อมและหน้าผากของตัวผู้เป็นสีแดง ส่วนของ ตัวเมียเป็นสีเทา ตัวไม่เต็มวัยกระหม่อมสีเหลืองแกม น้ำตาล โคนพุ่มหงอนขนสีชมพู ลำตัวด้านล่างมีลายสี เนื้อแต่ไม่เด่นชัด

อุปนิสัยและอาหาร:อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ และอาจ พบอยู่รวมกับนกกินแมลง โดยทั่วไปนกหัวขวานแคระ อกเทามีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับพวกนกหัวขวานต่าง โดยมันมักเกาะตามกิ่งไม้และยอดไม้มากกว่าลำต้น มันมักไต่รอบ ๆ กิ่งไม้พร้อมกับใช้ปากจิกตามร่องของ เปลือกไม้ บางครั้งก็พบเกาะกิ่งไม้ในลักษณะของนก จับคอน อาหาร ได้แก่ มด ปลวก ตัวหนอนและตัว อ่อนของแมลงอื่น ๆ

การผสมพันธุ์ : นกหัวขวานแคระอกเทาผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มันขุดเจาะโพรงทำรังตามกิ่งของต้นไม้ซึ่งปกติเป็นไม้ ยืนต้นตายที่ค่อนข้างมู ปากโพรงมีขนาดเล็กและมัก อยู่ทางใต้กิ่ง กันโพรงมีขนาดใหญ่เพื่อใช้วางไข่ ชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นไม่แตกต่างจากนกหัวขวานแคระจุดรูปหัวใจ แต่ไข่ของนกหัวขวานแคระอกเทามีขนาด เล็กกว่าเล็กน้อย

สถานภาพ :นกหัวขวานแคระอกเทาเป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก พบทางภาค ตะวันตก และภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Grey-and-buff1.jpg Grey-and-buff2.jpg Grey-and-buff3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/75802661/900
https://farm3.staticflickr.com/2853/33732040706_26e07b3e28_b.jpg
https://a4.pbase.com/o4/77/579877/1/106950640.TbGR2EUH._D307987.jpg
http://orientalbirdimages.org/images/data/gnbuffpecker_lyl.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต