นกกก,นกกาฮัง
วงศ์:Bucerotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Buceros bicornis (Linnaeus),1758.
ชื่อสามัญ:Great Hornbill
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว
กระจายพันธุ์ : มีการกระจายตั้งแต่ทางตอนใต้ของภูฏาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียเวียดนาม เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และบาหลี ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไป แหล่งอาศัยพบกระจายในป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จากพื้นราบจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,800 เมตร นอกจากนี้ยังพบตามเกาะต่างๆ พบได้ทั่วทุกภาคของไทย นกเงือกกรามช้างในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีพื้นที่อาศัยเท่ากับ 10 – 28 ตารางกิโลเมตร ในช่วงฤดูทำรังและนอกฤดูทำรัง
ลักษณะทั่วไป : นกกก มีขนาด 120-140 เซนติเมตร เป็นนกเงือกที่มีขนาดใหญ่มาก มีสีดำ-ขาว ตัวผู้อาจมีถึงขนาด 1.5 เมตร บริเวณหน้า คาง และส่วนใต้โหนกมีสีดำ คอขาว ปีกสีดำแถบขาว และปลายขนมีสีขาว หางสีขาวมีแถบดำพาดค่อนไปทางปลายหาง จะงอยปากมีสีเหลืองปลายปากมีสีส้ม นกทาสีเหลืองบนโหนกและจะงอยปากรวมทั้งบริเวณหัว ส่วนคอและปีก ด้วยสีของน้ำมันต่อจากโคนหาง โหนกของตัวผู้มีสีดำบริเวณด้านหน้า ม่านตาสีแดง ตัวเมียไม่มีสีดำบริเวณโหนก ม่านตาสีขาว ตัววัยรุ่นมีโหนกขนาดเล็กส่วนหน้าแบน
อุปนิสัยและอาหาร : นกกกหากินตามเรือนยอดไม้ มักชอบอยู่เป็นคู่ บางครั้งนอกฤดูผสมพันธุ์อาจรวมฝูงถึง 150 ตัว นอนอยู่ตามต้นไม้ในหุบเขา แต่บางครั้ง ก็ลงมาหากินบนพื้นดิน เสียงร้องดัง กก กก กก กาฮังๆๆๆ หรือ กะวะ ๆๆ จนมาเป็นที่มาของชื่อ นกกกพบอยู่ในป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณ ส่วนใหญ่ชอบอยู่บนป่าที่ราบ ระดับความสูงต่ำ 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ก็อาจพบตามภูเขาสูงถึง 2000 เมตร เช่นทางภาคเหนือของไทย ปัจจุบันนกกสูญพันธุ์ไปแล้วจากทางภาคเหนือเพราะว่าถูกล่าและที่อยู่อาศัยถูกโค่นถางเพื่อทำไร่เลื่อนลอย
การผสมพันธุ์ : นกกกผสมพันธุ์ในหน้าหนาวจนถึงหน้าร้อน วางไข่ตามโพรงไม้สูง วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง ก่อนวางไข่ตัวเมียจะเข้าไปในโพรงแล้วทำการตบแต่งโพรงก่อน ตัวผู้คาบดินผสมกับมูลของตัวเมียโบกปิดปากโพรง หรืออาจใช้อาหารที่กินเข้าไปแล้วสำรอกออกมาเพื่อปิดปากโพรง เหลือช่องไว้ตรงกลางพอให้ตัวเมียยื่นปากออกมาได้ ขณะที่ตัวเมียกกไข่และเลี้ยงลูกอยู่นี้ ตัวผู้จะหาอาหารมาเลี้ยงลูกและเมียของมัน ตัวเมียจะผลัดขนออกและขนขึ้นใหม่เต็ม ซึ่งกินเวลาพร้อมๆไปกับลูกของมันมีขนขึ้นเต็ม เมื่อขนขึ้นเต็มตัวเมียจะจิกปากโพรงออกแล้วหัดบินพร้อมกับลูก
ไข่ : ไข่นกนั้นมีสีสันแตกต่างกันออกไป พวกที่วางไข่ตาม โพรงไม้ หรือในโพรงดินมักจะมีสีขาว นกที่วางไข่ตามกอหญ้า บนดินทราย หรือตามหิน ก็มักจะมีสีสันคล้ายพื้นที่บริเวณนั้นๆ เพื่อพรางตาจากศัตรูของมัน
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
https://www.westernforest.org/images/th_zoborozec_velky_detail_1024.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201810/01/54391/images/488217.jpg
https://athidtiya1995.files.wordpress.com/2014/11/p-36-e0b899e0b881e0b881e0b881-e0b895e0b8b1e0b8a7e0b980e0b8a1e0b8b5e0b8a2e0b88be0b989e0b8b2e0b8a2e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b981e0b8a5e0b8b0.jpg
http://pirun.ku.ac.th/~b5310302875/New%20Folder/Great-Hornbill.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
https://pasusat.com/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81/
http://www.dusit.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=122&c_id=
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=1&chap=4&page=t1-4-infodetail05.html
http://hornbill.or.th/th/about-hornbills/hornbill-species/great-hornbill/