นกกางเขนน้ำหลังแดง

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 20:42, 30 มกราคม 2563 โดย Kangkrungbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Muscicapinae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Enicurus ruficapillu...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Chestnut-naped.jpg

วงศ์:Muscicapinae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Enicurus ruficapillus (Temminck) 1832.
ชื่อสามัญ:Chestnut-naped Forktail
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Chestnut-backed Forktail

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Enicurus ruficapillus ชื่อ ชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ruf, -esc, -i หรือ rufus แปลว่าสีแดงหรือสีออกแดง และ capill, -a หรือ capillus แปลว่ากระหม่อมหรือขน ความหมาย คือ “ขนบริเวณกระหม่อมเป็นสีแดงหรือสีออกแดง” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ไม่มี การแบ่งเป็นชนิดย่อย

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็ก (20 ซม.) ตัวผู้แตกต่างจากนกกางเขนน้ำอื่น ๆ โดยบริเวณกระหม่อม ท้ายทอย หลังตอนบน และด้านข้างของคอเป็น สีน้ำตาลแดงหรือสีออกแดง อกสีขาวมีลายเกล็ดสีดำ ตัวเมียลักษณะคล้ายคลึงกับตัวผู้ แต่หลังทุกส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามลำธารลำห้วย ในป่าดงดิบชื้นและป่าดงดิบเขา ตั้งแต่เชิงเขาจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกกางเขนน้ำต่าง ๆ

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดู ฝนประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม รังเป็น รูปถ้วย โดยเฉลี่ยมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 13.0 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 7.0 ซม. และลึก 6.0 ซม. รังทำด้วยมอสและตะไคร่น้ำ นำใบไม้แห้งที่เนื้อ ใบหลุดไปเหลือแต่โครงเส้นใบมาวางซ้อนกันหลายชั้น จนหนา ทำให้พื้นรังนุ่มและเก็บความชื้นได้ดี (สถาพร และคณะ, 2529) ทำรังตามหลืบหินหรือรากไม้ริม ฝั่งลำธาร รังมีไข่ 2-3 ฟอง

ไข่ : ไข่สีขาว มีจุดประสีแดง และสีม่วงกระจายทั่วฟอง โดยเฉพาะไข่ด้านป้าน ขนาด ของไข่โดยเฉลี่ย 16.1x23.2 มม. ทั้งสองเพศช่วย กันฟักไข่ โดยใช้เวลา 15-16 วัน และช่วยกันเลี้ยงดู ลูกอ่อนโดยใช้เวลาประมาณ 16-17 วัน ลูกอ่อนมี สภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ ยังไม่ลืมตา ผิวหนังตาม ลำตัวเป็นสีแดงเรื่อ ๆ

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและ ปริมาณไม่มากนัก พบทางภาคใต้และบางแห่งของภาค ตะวันตก

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Chestnut-naped1.jpg Chestnut-naped2.jpg Chestnut-naped3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://image.free.in.th/z/iz/dsc_16482_32_web_2l_01.jpg
https://pbs.twimg.com/media/D-U5prLUEAA7W_J.jpg
http://image.free.in.th/z/is/dsc_16497_32_web_2l_02.jpg
http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2011/08/E10893654/E10893654-8.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต