นกกินปลีคอแดง
วงศ์:Nectariniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Aethopyga siparaja (Raffes) 1822.
ชื่อสามัญ:White-Crimson Sunbird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Yellw-backed Sunbird
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aethopyga siparaja ชื่อชนิดมาจากคำในภาษามาเลย์คือ Sipa raja ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกนกชนิดนี้โดยเฉพาะ พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 16 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 5 ชนิดย่อยคือ Aethopyga siparaja siparaja (Rafflees) ที่มาของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด Aethopyga siparaja seheriae (Tickell) ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย Aethopyga siparaja cara Hume ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ Car แปลว่าน่ารัก ความหมายคือ นกที่มีสีสวยงาม พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า Aethopyga siparaja mangini Delacour and Jabouille ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบ ครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม และ Aethopyga siparaja trangensis Meyer de Schaunsee ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ ที่พบครั้งแรกคือ จังหวัดตรัง
กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ เกาะสุลาเวซี และ ฟิลิปปินส์
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (11 ซม.) ตัวผู้ขนหางคู่กลางยาวกว่า 2.5 ซม. กระหม่อม ขน คลุมโคนขนหางด้านบน และขนหางเป็นสีเขียวเป็นมัน ตะโพกมีแถบสีเหลือง ช่วงไหล่ หัวด้านข้าง และคอ เป็นสีแดงสด คอหอยและอกสีแดง ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีออกเขียวหรือออกเทา ตัวเมียลําตัวด้านบนสีเขียวแกมเหลืองถึงสีเขียว ปีกมีแต้มสีทองแดง ลำตัวด้านล่างสีเขียวแกมเหลือง ตรงกลางท้องปกติออกเหลือง ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีออกเขียวหรือเทา หางค่อนข้างยาวและเว้าตื้น ปลายหางด้านล่างสีดำ แต่ไม่เด่นชัด บางครั้งก็ไม่ปรากฎ
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่า ขึ้น ป่าดงดิบแล้ง ป่ารุ่น ชายนั้น และสวนผลไม้ ขึ้นราบจนกระทั้งความสูง 1,500 เมตรจาก บน้ําทะเล มักพบอยู่เป็นคู่ อาศัยและหากินตาม จะยอคไม้ เป็นนกที่ไม่ค่อยหยุดนิ่ง มักบินไป เม้นไม้หรือกระโดดไปมาตามกิ่งไม้ตลอดเวลา เจรได้แก่ น้ําหวานดอกไม้ โดยเฉพาะตอกกาฝาก แคากนี้ยังกินแมลงและตัวหนอน โดยจิกกินตาม ยิ่งไม้ ยอดไม้ และสอกไม้ที่มีแมลงมาตอม
การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนและต้น ฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน รังเป็น รูปกระเปาะมีหางยาว แขวนอยู่ตามกิ่งไม้ในระดับที่ไม่ สูงจากพื้นดินมากนัก มีทางเข้าออกอยู่ทางด้านข้าง ทํารังด้วยการสานหญ้าและใบไม้ แล้วเชื่อมให้ติดกัน ด้วยใยแมงมุม ภายในกระเปาะรองรับไข่ด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม เช่น ดอกหญ้า รากฝอย รังมีไข่ 2 ฟอง
ไข่ : ไข่สีชมพู มีลายจุดสีแดงเข้มกระจายห่าง ๆ ทั่วฟองและมีลาย ดอกสีเข้มกว่าบริเวณไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่โตย เฉลี่ย 10.0x14.0 มม. ตัวเมียตัวเดียวที่สร้างรัง และหาวัสดุ ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ แต่ตัวเมียทําหน้าที่มากกว่า และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน ยังไม่ทราบระยะเวลาฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน
สถานภาพ : เป็นนกประจําถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย seheriae พบทางภาคเหนือ ด้านตะวันตก ชนิดย่อย cara พบทางภาคเหนือด้าน ตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เฉียงใต้ ชนิดย่อย mangini พบทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือด้านตะวันออกและภาคกลางด้านตะวันออกชนิดย่อย trangensis พบทางภาคตะวันตกและภาคใต้ และชนิดย่อย siparaja พบทางภาคใต้ตอนใต้สุด
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/46963/images/427263.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/46963/images/427264.jpg
https://www.bloggang.com/data/somchat/picture/1197562274.jpg
https://i.ytimg.com/vi/KXuwA0Aoy5M/maxresdefault.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต