นกกินปลีคอสีม่วง

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 21:07, 30 มกราคม 2563 โดย Kangkrungbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Nectariniidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Nectarinia sperata...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Purple-throated.jpg

วงศ์:Nectariniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Nectarinia sperata (Linnaeus) 1766.
ชื่อสามัญ:Purple-throated Sunbird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Van Hasselt's Sunbird

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nectarinia sperata ชื่อ ชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ Sperare แปลว่า ความหวังหรือความปรารถนา อาจมีความหมายว่า “นกที่มีสีสวยงาม” ทั่วโลกมี 12 ชนิดย่อย ประเทศไทย พบ 1 ชนิตย่อยคือ "Nectarinia sperata brazil-lianus" (หรือ brasillianus) (Gmelin) ชื่อชนิดย่อย มาจากคําว่า brazil หรือ brasil ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีขนาดสูงใหญ่ อาจหมายถึงการอาศัยและหากินของนกชนิดย่อยนี้ พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์ : ในรัฐอัสสัม อินเดีย บังกลาเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดา ฟิลิปปินส์ และเกาะสุลาเวซี

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (10 ซม.) ตัวผู้เมื่อดูในธรรมชาติจะเห็นเป็นสีดําทั้งตัว แตกต่างจากนกกินปลีดำม่วงตัวผู้ โดยคอหอยมีสีม่วงเป็นมัน อกและท้องตอนบนสีแดงเข้ม มีขนาดเล็กกว่านกกินปลีคอสีทองแดงตัวผู้มากและไม่มีขนสีฉูดฉาดที่อก ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย ลําตัวด้านล่างสีเขียวอ่อนแกมเหลือง ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่าง สีเหลืองแกมเขียว ปลายขนหางสีเทา (มักมองไม่เห็นเมื่อดูในธรรมชาติและบางครั้งก็ไม่มี) แตกต่างจากตัว เมียของนกกินปลีส่วนใหญ่โดยลําตัวด้านบนสีเขียวเข้มกว่า หัวด้านข้างสีเข้มตัดกับคอหอยที่มีสีจางกว่า หาง สีดําและสั้นกว่า 35 มม. ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างเป็นสีออกเหลืองกว่า

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามชายป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าพรุ และป่ารุ่นที่ค่อนข้างชื้น ในระดับต่ำจนกระทั่งความสูง 12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล บางครั้งอาจพบในป่าชายเลนและสวนผลไม้ อุปนิสัย ไม่แตกต่างจากนกกินปลีอกเหลือง

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูฝนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ทำรังเป็นรูปกระเปาะห้อยลงจากกิ่งไม้หรือใบไม้ สูงจากพื้น 1.5-6 เมตร รังมีใข่ 2 ฟอง

ไข่ : ไข่มีสีน้ำตาลเป็นมัน มีจุดเล็กๆ สีน้ำตาลเข้ม ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 11.0 x 14.0 มม. ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้าน อื่น

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก พบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Purple-throated1.jpg Purple-throated2.jpg Purple-throated3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_96.jpeg
https://live.staticflickr.com/3721/9888306206_0b5a7e8174_b.jpg
http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-125872-1.jpg
http://topicstock.pantip.com/camera/topicstock/2011/09/O11077103/O11077103-0.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต