นกกินแมลงคอลาย

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 21:12, 30 มกราคม 2563 โดย Kangkrungbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Timaliidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Stachyris striolata '' (M...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Spot-necked.jpg

วงศ์:Timaliidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Stachyris striolata (Müller) 1835.
ชื่อสามัญ:Spot-necked Babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Spot-necked Tree Babbler

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stachyris striolata ชื่อ ชนิดมาจากคำในภาษาละตินสมัยใหม่คือ striolatus แปลว่าลายขีด (รากศัพท์ภาษาละตินคือ striol, =a แปล ว่าลายขีดเล็ก ๆ และ -ta เป็นคำลงท้าย) ความหมาย คือ “นกที่มีคอเป็นลายขีดเล็ก ๆ” พบครั้งแรกที่เกาะ สุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 7 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อยคือ 1. Stachyris striolata helenae Delacour and Greenway ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบ ครั้งแรกที่ประเทศลาว 2. Stachyris striolata guttata (Blyth) ชื่อ ชนิดย่อยมาจากคำในภาษาละตินคือ gutatus แปลว่า ลายจุด (รากศัพท์ภาษาละตินคือ gutt, =a แปลว่าจุด และ -ta เป็นคำลงท้าย) ความหมายคือ “คอเป็นลายจุด” พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า และ 3. Stachyris striolata nigrescentior Desis nan ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ nig -el, =er, -ra, -resc, -ri, -ro หรือ nigrescere แปล ว่าสีดำหรือสีเข้ม และ -escentior เป็นคำลงท้าย แปลว่าเป็นของความหมายคือ “นกที่มีสีเข้ม” พบครั้งแรกที่จังหวัดตรัง

กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่ประเทศจีนตอนใต้ เกาะไหหลำ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และเกาะสุมาตรา

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (18 ซม.) แตกต่างจากนกกินแมลงหูขาวและนกกินแมลงคอดำ โดยคอด้านข้างมีลายจุดสีขาวหนาแน่นกว่า คอหอยสีขาว ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดงปนเขียว ชนิดย่อย nigrescentior อกและท้องสีน้ำตาลแดงเข้มกว่าชนิดย่อยอื่น

อุปนิสัยและอาหาร :พบตามป่าดงดิบแล้งและป่าดงดิบเขาในระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ อุปนิสัยอื่นไม่แตกต่างจากนกกินแมลงในสกุลเดียวกัน

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในฤดูหนาวถึงฤดูฝนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน รังเป็นรูป โดมหรือรูปถ้วย มีทางเข้าออกขนาดใหญ่อยู่ทางด้านข้าง รังอยู่ตามกอหวายหรือพืชคลุมดิน รังมีไข่ 3-4 ฟอง

ไข่ : ใช่สีขาวเป็นมัน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 16.5x22.3 มม. ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น

สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก ชนิดย่อย helenae พบทางภาคเหนือ ชนิดย่อย guttata พบทางภาคตะวันตก และ ชนิดย่อย nigrescentior พบทางภาคใต้

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Spot-necked1.jpg Spot-necked2.jpg Spot-necked3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_560.jpg
https://f.ptcdn.info/015/017/000/1395551465-D4B7935-o.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2014_02_16_18_09_56.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/dsc_5613.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต