นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 21:20, 30 มกราคม 2563 โดย Kangkrungbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Pellorneidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Malacopteron magnirostre...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Moustached.jpg

วงศ์:Pellorneidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Malacopteron magnirostre (Moore) 1854.
ชื่อสามัญ:Moustached Babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Brown-headed Tree Babbler

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Malacopteron magnirostre ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ magn, -i หรือ magnus แปลว่าใหญ่ และ rostr, =um หรือ rostris แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกที่มีปากใหญ่” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Malacopteron magnirostre magnirostre (Moore) ที่มาและความหมาย ของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็ก (18 ซม.) ตัวเต็มวัยหัวด้านข้างสีเทามีแถบสีดำที่มุมปากถึงบริเวณ ข้างแก้ม วงรอบเบ้าตาและหัวตาสีออกขาว แต่มักมอง เห็นเป็นสีเทา หางสีน้ำตาลแดง กระหม่อมสีน้ำตาล แกมเขียวซึ่งจะเหมือนหรือเข้มกว่าบริเวณช่วงไหล่ ลำตัวด้านล่างสีออกขาวมีลายขีดสีเทาอกสีน้ำตาลแกมเทา คอหอยมีลายขีดสีเทา ขนบริเวณกระหม่อมอาจ ตั้งชันคล้ายเป็นหงอนขนสั้น ๆ ขนบริเวณคอหอยบาง ครั้งพองฟูคล้ายเป็นเครา ตัวไม่เต็มวัยแถบที่มุมปาก ไม่เด่นชัด

อุปนิสัยและอาหาร :พบตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ พื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ อาศัยและ หากินตามกิ่งของไม้ต้นและไม้พุ่มในระดับที่ไม่สูงจาก พื้นดินมากนัก โดยไม่ลงมายังพื้นดินเลย มักพบหากินร่วมกับนกกินแมลงชนิดอื่น อาหารได้แก่ แมลงและ ตัวหนอน เมื่อตกใจมักร้องเสียงดัง

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดู ฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังเป็น รูปถ้วย ประกอบด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ใบไม้แห้ง และมอส รองพื้นรังด้วยรากฝอย รังอยู่ตามง่ามหรือกิ่งไม้ที่สูงจาก พื้นดินไม่เกิน 1 เมตร รังมีไข่ 3-5 ฟอง

ไข่ : ไข่สีออกชมพูมีลายขีดลายจุดและลายดอกสีน้ำตาล ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 16.4x22.1 มม. ทั้งสองเพศช่วย กันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ยังไม่ทราบระยะ เวลาฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน

สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง อาจนับได้ว่าพบบ่อยที่สุดในบรรดานก กินแมลงในสกุลเดียวกันนี้ พบเฉพาะทางภาคใต้

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Moustached1.jpg Moustached2.jpg Moustached3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://singaporebirders.files.wordpress.com/2016/01/moustached-babbler-130623-108eos1d-fy1x7937.jpg?w=1200
https://live.staticflickr.com/1758/41530217765_6741697688_b.jpg
https://live.staticflickr.com/1754/41709344124_e53256a5dd_b.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/moustachedbabblerkrung_ching13_october_2013_obc.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต