นกกินแมลงอกเหลือง
วงศ์:Timaliidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Macronous gularis (Horsfield) 1822.
ชื่อสามัญ:Striped Tit Babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Striped Babbler
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macronous gularis ชื่อ ชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่คือ gularis (gul, =a) แปลว่าคอหอย ความหมายคือ “มีคอหอย เด่น” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 25 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 6 ชนิดย่อย คือ 1. Macronous gularis lutescens (Delacour) ชื่อชนิดย่อยมาจากคำในภาษาละตินสมัยใหม่คือ Iutescens แปลว่าสีออกเหลือง (รากศัพท์ภาษาละตินคือ lut, -e, -i หรือ luteus แปลว่าสีโคลนหรือสีออกเหลือง และ -escens เป็นคำลงท้าย) ความหมายคือ “อกสีเหลือง” พบครั้งแรกทางตอนเหนือของประเทศลาว 2. Macronous gularis sulphureus (Rippon) ชื่อชนิดย่อยมาจากคำในภาษาละตินคือ sulphureus แปลว่าสีออกเหลือง (รากศัพท์ภาษาละตินคือ sulph, -o แปลว่ากำมะถันหรือสีออกเหลือง) ความหมายคือ “อกสีเหลือง” พบครั้งแรกที่รัฐฉาน ทางตอนเหนือของ ประเทศพม่า 3. Macronous gularis saraburiensis Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือ จังหวัดสระบุรี 4. Macronous gularis connectens (Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ con แปลว่าด้วย ด้วยกัน และ nect แปลว่าขอบเขต หรือเชื่อมต่อ ความหมายคือ “พบบริเวณรอยต่อ (ระหว่างภาคหรือระหว่างประเทศ)” พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคใต้ 5. Macronous gularis inveteratus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละดินคือ in แปลว่าไม่ หรือปราศจาก vetera แปลว่าเก่าแก่ และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “พบนานแล้ว แต่ ยังไม่ได้รับการจัดจำแนก” พบครั้งแรกที่จังหวัดตราด และ 6. Macronous gularis chersonesophilus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ chers, -o หรือ khersos แปลว่าแห้งแล้ง nes, -o, =us แปลว่าเกาะ และ phil, -a, -i, -o หรือ philos แปลว่าชอบ ความหมายคือ “นกที่อาศัยอยู่บนเกาะที่ ค่อนข้างแห้งแล้ง” พบครั้งแรกที่จังหวัดตรัง
กระจายพันธุ์ : ตั้งแต่อินเดียด้านตะวันออกจนถึง จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนตาใหญ่ และเกาะปาลาวัน
ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็กมาก (13 ซม.) กระหม่อมสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีเหลืองซีดมี ลายขีดสีดำ ซึ่งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดย่อย หัวด้านข้างมีลายแต้มสีเหลือง ลำตัวด้านบนมีตั้งแต่สี เขียวแกมน้ำตาลอ่อนจนถึงสีเขียวแกมน้ำตาลแดง ตา สีครีมหรือสีเหลืองอ่อน บางครั้งเป็นสีน้ำตาล
อุปนิสัยและอาหาร :พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ป่ารุ่น หรือทุ่งโล่ง ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจาก ระดับน้ำทะเล ช่วงฤดูผสมพันธุ์พบอยู่โดดเดี่ยวหรือ เป็นคู่ ช่วงฤดูอื่นพบเป็นฝูง และอาจพบอยู่รวมกับนก กินแมลงอื่น ๆ หากินตามกิ่งหรือตามใบไม้ ภายในเรือนยอดหรือตามกอไผ่ มักกระโดดไปตามกิ่งไม้และต้นไม้เสมอ บางครั้งลงมายังพื้นดิน อาหารได้แก่ แมลง มักส่งเสียงร้องเกือบตลอดเวลา ในช่วงกลางวันที่อากาศ ร้อนจัดมักซ่อนตัวในที่รกทึบ
การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน รังเป็นรูปทรงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. ประกอบด้วยใบไผ่และใบหญ้า แล้วรองพื้นรังด้วยหญ้าที่ฉีกละเอียดและรากฝอย รังอยู่ตามพุ่มไม้หรือกอไผ่ที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก มองดูคล้ายเป็นกองใบหญ้าหรือใบไผ่ที่ถูกลมพัดมาสุมกัน รังมีไข่ 3-4 ฟอง บางรังมี 5 ฟอง
ไข่ :ไข่สีขาว มีลายจุดและลายขีดเล็ก ๆ สีน้ำตาล แกมแดง โดยเฉพาะบริเวณไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่ โดยเฉลี่ย 12.6x16.6 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 12-13 วัน ลูกนกที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อ แม่ต้องหาอาหารมาป้อนจนอายุ 12-13 วันจึงมีขน เต็มตัว บินได้ และทิ้งรังไปในที่สุด
สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย Iutescens พบทางภาคเหนือตอน บนสุดและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดเลยจนถึงอุบลราชธานี ชนิดย่อย Sulphureus พบทางภาคเหนือส่วนที่เหลือและภาคตะวันตก ชนิดย่อย saraburiensis พบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงใต้ (จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี) ชนิดย่อย connectens พบทางภาคตะวันตกตอนใต้และภาคใต้ (จังหวัดราชบุรีจนถึงคอคอดกระ) ชนิดย่อย inveteratus พบตามหมู่เกาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และชนิดย่อย chersonesophilus พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
https://singaporebirders.files.wordpress.com/2016/01/pin-striped-tit-babbler-img_8069-109eos7d-111114.jpg
https://singaporebirdgroup.files.wordpress.com/2015/04/p3304098.jpg?w=615&h=461
https://live.staticflickr.com/2605/3791242465_42a6afb1a6_z.jpg
http://adeq.or.th/wp-content/uploads/2019/01/นกกินแมลงอกเหลือง-495x400.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต