นกขมิ้นน้อยสีเขียว

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 22:21, 7 กุมภาพันธ์ 2563 โดย Kangkrungbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Green iora.jpg

วงศ์:Corvinae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Aegithina viridissima (Bonaparte) 1851.
ชื่อสามัญ:Green iora
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aegithina viridissima ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ virid,-esc แปลว่าสีเขียว และ –issim,=a,=um,=us เป็นคำลงท้าย แปลว่ามาก ความหมายคือ “นกที่มีสีเขียวมาก” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Aegithina viridissima viridissima (Bonaparte) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (14 ซม.) ตาสีขาว ตัวผู้มีสีเขียวแกมเหลือง ปีกและหางสีดำปีกมีลายแถบสีขาว 2 แถบ ด้านบนและด้านล่างของตามีลายแถบสีเหลืองเล็ก ๆ ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวเมียนกขมิ้นน้อยธรรมดา แต่ลายแถบที่ปีกมีสีออกเหลืองมากกว่า สีสันจะออกเป็นสีเขียวมากกว่า

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้นและชายป่า ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั้งความสูงไม่เกิน 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่ อาศัยและหากินตามกิ่งและยอดไม้ระดับสูงอาหารได้แก่ แมลงโดยการจิกกินตามกิ่งไม้และยอดไม้

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ชีววิทยาการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างจากนกขมิ้นน้อยธรรมดา

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=n2b5NbdLpDk//https:
>>> นกขมิ้นน้อยสีเขียว <<<


Green iora1.jpg Green iora2.jpg Green iora3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.hbw.com/sites/default/files/styles/ibc_1k/public/ibc/p/bf6e4439_green_iora.jpg?itok=IIEyXXJl
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/green_iora_male.jpg
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/79294311/1800
https://live.staticflickr.com/7688/17010013797_021ffb5596_b.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต