นกเขียวคราม

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 22:38, 7 กุมภาพันธ์ 2563 โดย Kangkrungbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Asian1.jpg

วงศ์:Irenidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Irena puella (Latham) 1790.
ชื่อสามัญ:Asian Fairy Bluebird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-

กระจายพันธุ์ :อินเดีย ศรีลังกา อันดามัน จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดา ฟิลิปปินส์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทั่วไป : ลําตัวยาว 25 ซม. ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันแตกต่างกัน ตัวผู้ส่วนบนของลําตัว ตั้งแต่กระหม่อม ท้ายทอย หลังคอ หลังไหล่ ตะโพก จนถึงขนคลุมบนโคนหาง รวมทั้งขนคลุมใต้โคนปางเป็นสีฟ้าครามสดใส หน้าผากมีขนสี ดําคล้ายกํามะหยี่ ส่วนล่างของลําตัวที่เหลือทั้งหมดเป็นสีดําสนิท ขนปีกและขนหางก็มีสีดํา จะงอยปากสีดําขาและนิ้วสีดํา ม่านตาสีแดงเข้ม นกตัวเมียและตัวที่ยังไม่โตเต็มวัย มีขนทั่วทั้งตัวเป็นสีฟ้าอมเขียวหม่น ๆ ยกเว้นขนปลายปีก ขนกลางปีกด้านนอกและขนหางเส้นนอก ๆ เป็นสีดํา

อุปนิสัยและอาหาร:มักพบบินและกระโดดจิกกินลูกไม้บนต้นไม้สูง ๆ ส่วนมากพบอยู่ด้วยกันเป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ บนต้นไม้ที่มีผลสุก โดยเฉพาะต้นไทร ซึ่งถือเป็นอาหารหลัก ยังชอบจิกกินแมลงตามต้นไม้และน้ําไหวานจาก ดอกไม้อีกด้วย

การผสมพันธุ์ : ราวเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม รังมักทําไว้บนยอดไม้สูงที่มีพุ้มใบหนา ตัวเมียทําหน้าที่สร้างรังและกกไข่แต่เพียงผู้เดียว วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง ระยะฟักไข่ 13 วัน

สถานภาพ :เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยทั่วทุกภาคประเทศ

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=faRpGbJINxA//https:
>>> นกเขียวคราม <<<


Asian2.jpg Asian3.jpg Asian4.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2019_05_11_12_18_46.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/img_7732aa.jpg
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/151070911/1800
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201209/09/86734b02.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
https://www.tistr.or.th/sakaerat/Flora_Fauna/nok%20PDF/nok%20pdf_1/107%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1doc.pdf