นกปรอดเหลืองหัวจุก
วงศ์:Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Pvcnonotus melanicterus (Gmelin) 1789.
ชื่อสามัญ:Black-crested Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pvcnonotus melanicterusมี ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ melan, -o หรือ melas แปลว่าสีดำ และ icter, -i, -o, =us แปลว่า นกขมิ้นหรือสีเหลือง ความหมายคือ “นกที่มีสีดำ และสีเหลือง” พบครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ทั่วโลก มี 12 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 7 ชนิดย่อยคือ 1. Pycnonotus melanicterus vantynei Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรก ทางตอนเหนือของประเทศลาว 2. Pycnonotus melanicterus xanthops Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ xanth, -o หรือ xanthos แปลว่าสีเหลือง และ op, =s แปลว่าการปรากฏหรือใบหน้า ความหมายคือ “นกที่มีสีเหลือง” พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ 3. Pycnonotus melanicterus auratus Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ aur, -ar, -at, -e, -i หรือ aurum แปลว่าสีทอง และ -tus เป็นคําลงท้าย ความหมายคือ “นกที่มีสีทอง” “พบครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบูรณ์ 4. Pycnonotus melanicterus johnsoni(Gyllenstolne) ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา 5. Pycnonotus melanicterus elbeli DeignIn ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดตราด 6. Pycnonotus melanicterus negatus Designan ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ nega แปลว่าคำปฏิเสธหรือไม่ยอมรับ และ -tus เป็น คำลงท้าย อาจหมายถึง “นกที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ การเป็นชนิดย่อย” พบครั้งแรกที่จังหวัดกาญจนบุรี 7. Pycnonotus melanicterus caecilii Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย ศรีลังกา จีนตอนได้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (19 ซม.) หัว มีหงอนขนยาวสีดำ หัวและคอสีดำ ลำตัวด้านบนสี น้ำตาลแกมเขียว ลำตัวด้านล่างสีเหลือง ตาสีขาวหรือ สีครีม ตัวไม่เต็มวัยจะเป็นสีเทา ชนิดย่อย johnsorni คอหอยเป็นสีแดง
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และ ป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง ๒,๕๐๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล พบเป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ หากิน ตามพุ่มไม้และยอดไม้ ทั้งในระดับสูงและระดับปาน กลาง เป็นนกที่มักส่งเสียงร้องตลอดเวลา “วิด-วีด-ติ-วีด” อาหารได้แก่ ผลไม้ โดยเฉพาะ ไทร หว้า ตะขบ ตาเสือเล็ก อบเชย และไม้เถาบางชนิด โดยใช้ปากเด็ด ผลไม้ออกจากขั้วแล้วกลืนกินทั้งผล นอกจากนี้ยังกิน กลีบดอกไม้ น้ำหวานตอกไม้ โดยเฉพาะดอกทองหลาง ป่า และจิกกินตัวหนอนและแมลงตามกิ่งและยอดไม้ บางครั้งโฉบจับแมลงกลางอากาศ แต่ในระยะที่ไม่ไกล จากที่เกาะมากนัก
การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดู ฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ทำรัง เป็นรูปถ้วย ประกอบด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ต้นหญ้า ใบไม้ และใบหญ้า กลางแอ่งมักรองด้วยใบไม้และใบหญ้าอีก ชั้นหนึ่งเพื่อรองรับไข่ รังอยู่ตามง่ามของไม้ต้นและไม้พุ่ม สูงจากพื้นดินประมาณ 1-3 เมตรหรือมากกว่า แต่บาง ตัวทำรังในระดับต่ำมาก ราว 30 ซม. จากพื้นดิน รัง มีไข่ 2-4 ฟอง
ไข่ :ไข่สีชมพู บริเวณด้านป้านมีลายดอก ดวงสีน้ำตาลแดง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 15.7 x 20.9 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 12-13 วัน ลูกนกเมื่อออกจากไข่มา ใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุมลำตัวและยังช่วยเหลือตนเอง ไม่ได้ อายุ 14-15 วันจะสามารถบินได้และทิ้งรังไป
สถานภาพ:เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและ ปริมาณมาก ชนิดย่อย vantynei พบทางภาคเหนือ ตอนบน (จังหวัดเชียงรายและพะเยา) นอกจากนี้ยังมี รายงานว่าเป็นนกอพยพช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยพบ ที่จังหวัดเชียงใหม่และบางแห่งของภาคตะวันออกเฉียง เหนือ จังหวัดสกลนครและอุบลราชธานี) ชนิดย่อย Xanthops พบทางภาคเหนือ ยกเว้นบริเวณที่ชนิดย่อย vantynei มีกระจายพันธุ์อยู่ ลงมาจนถึงจังหวัดกำแพงเพชร ชนิดย่อย auratus พบทางภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนบน ชนิดย่อย johnsoni พบทางภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคกลาง จังหวัดลพบุรี) ชนิดย่อย elbeli พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิด ย่อย negatus พบทางภาคตะวันตก และชนิดย่อย caecilii พบทางภาคใต้
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> นกปรอดเหลืองหัวจุก <<<แหล่งที่มาของภาพ
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_669.jpg
https://live.staticflickr.com/5181/5629556798_08dd83c6ca_b.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/948/38948/album/45991/images/421373.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2015_01_04_06_05_17.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต