นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 23:02, 30 มกราคม 2563 โดย Kangkrungbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''' :Pycnonot idae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Alophoixus ochraceus...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Ochraceous.jpg

วงศ์ :Pycnonot idae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alophoixus ochraceus (Moore) 1854.
ชื่อสามัญ :Ochraceous Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ :Brown White -throated Bulbul Ochraceous Bearded Bulbul

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alophoixus ochraceus ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาละดินสมัยใหม่คือ ochrace แปลว่าสีจาง ความหมายคือ “นกที่มีสีจางหรือสีเหลือ อ่อน” พบครั้งแรกที่เมืองตะนาวศรี ทางตอนใต้ขอ ประเทศพม่า ทั่วโลกมี 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพ 3 ชนิดย่อย 1. Alophoixus ochraceus ochraceus Moc ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชน 2. Alophoixus ochraceus cambodian Delacour and Jabouille ชื่อชนิดย่อยมาจาก สถานที่ที่พบครั้งแรกคือ ประเทศกัมพูชา และ 3. Alophoixus ochraceus sordidus Rie mond ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละติน Sord, id แปลว่าสกปรก ความหมายคือ “นกที่มีหลากสี หรือนกที่มีสีไม่สดใส” พบครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็ก (23 ซม.) ลักษณะคล้ายนกปรอดโอ่งเมืองเหนือ แต่ตัวเต็มวัย พุ่มหงอนขนสั้นกว่า ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล หัวด้าน ข้างสีน้ำตาลแกมเทา คอหอยสีขาว อกและสีข้างสี น้ำตาลแกมเหลือง ท้องสีน้ำตาล ขนคลุมโคนขน หางด้านล่างสีครีมแกมเหลืองหรือสีน้ำตาลเหลือง ตัว ไม่เต็มวัยบริเวณปีกและหางสีออกแดงมากกว่า

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้นและ ป่าดงดิบแล้ง ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัย อาหาร และพฤติกรรม การกินอาหารไม่แตกต่างจากนกปรอดโอ่งอื่น

การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรั้ง เป็นรูปถ้วย ประกอบด้วยใบไม้ กิ่งไม้ ใบหญ้า ต้นหญ้า รองพื้นรังด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่ม เช่น ดอกหญ้า ใบหญ้า ฉีกฝอย เป็นต้น รังอยู่ตามง่ามของกิ่งไม้สูงและไม้พุ่ม เตี้ย รังมีไข่ 2-4 ฟอง

ไข่ : ไข่สีขาว มีลายจุดและลาย ขีดสีเทาแกมม่วงและสีออกแดง โดยเฉพาะบริเวณไข่ ด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 17.5x25.0 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน จะ ฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ 13-14 วัน ลูกนกอายุ 12-13 วันจะบินได้และทิ้งรังไป

สถานภาพ:สถานภาพ เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและ ปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย cambodianus พบทาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย ochraceus พบทาง ภาคตะวันตก และชนิดย่อย sordidus พบทางภาคใต้ ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Ochraceous1.jpg Ochraceous2.jpg Ochraceous3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201409/12/53523/images/478735.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201409/12/53523/images/478733.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201409/12/53523/images/478731.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_173.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต