นกปรอดโอ่งไร้หงอน
วงศ์:Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Alophoixus phaeocephalus (Hartlaub) 1844.
ชื่อสามัญ:Yellow-bellied Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Crestless White-throated Bulbul, Grey-headed Bearded Bulbul
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alophoixus phaeocephalusชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ phae, -o หรือ phaios แปลว่าสีเทาและ cephal, =a, -o หรือ kephalos แปลว่าหัว ความหมายคือ “หัวมีสีเทา” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Alophoixus phaeocephalus phaeocephalus (Hartlaub) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด
กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็ก (20 ซม.) หัวและท้ายทอยไม่มีพุ่มหงอนขน หัวสีเทา คอหอยสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเขียว ลำตัวด้านล่างสีเหลือง
อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้นและป่าดงดิบแล้ง ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั้งความสูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยว และอาจพบอยู่รวมกับพวกนกจาบดินและนกกินแมลงต่าง ๆ ซึ่ง แตกต่างจากนกปรอดอื่น ส่วนใหญ่หากินตามพื้นดิน โดยกินผลไม้สุกที่หล่นจากต้น บ่อยครั้งก็เด็ดกินจาก กิ่งไม้เหมือนนกปรอดทั่วไป นอกจากนี้ยังจิกกินตัว หนอนและแมลงตามกิ่งก้าน ลำต้น ยอดไม้ และพื้นดิน
การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม รังเป็นรูปถ้วย อยู่ในระดับต่ำ รังมีไข่ 2 ฟอง ยังไม่ทราบชีววิทยา การสืบพันธุ์ด้านอื่น
สถานภาพ:เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระ ลงไป
กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
http://science.sut.ac.th/gradbio/stupresent/2550/2_2550/gr2/images/plodong.jpg
http://www.savebird.com/Bird_Image/SYLVIOIDEA/Bulbul_Yellow_belly.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/yellowbellied_bulbul3ckledangsayong_forest_reserve_ipoh_perak_malaysia5th_august_2017.jpg
แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต