นกโพระดกหน้าผากดำ

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 23:17, 30 มกราคม 2563 โดย Kangkrungbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''':Megalaimidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''':''Megalaima australis '' (...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Blue-eared.jpg

วงศ์:Megalaimidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Megalaima australis (Horsfield) 1821.
ชื่อสามัญ:Blue-eared Barbet
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:-

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Megalaima australis ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ ที่พบครั้งแรก คือประเทศออสเตรเลีย (คำในภาษาละติน คือ australis แปลว่าตอนใต้ ซึ่งอาจหมายถึงประเทศ หรือทวีปออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางซีกโลกใต้) ทั่วโลกมีนกโพระดกหน้าผากดำ 7 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อยคือ 1. Megalaima australis cyanotis (Blyth) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ cyan, -e, -i, -o หรือ kuanos แปลว่าสีน้ำเงินเข้ม และ ot, -i, -o หรือ -otis แปลว่าหู ความหมายคือ “นกที่มีขนบริเวณหูเป็นสีน้ำเงินเข้ม” พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า 2. Megalaima australis stuarti (Robinson and Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของ บุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็ต 3. Megalaima australis orientalis (Robinson) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ orient, -al หรือ orientis หรือ oriens แปลว่าทิศตะวันออก และ -alis แปลว่าเป็นของ ความหมายคือ “นกที่พบทางซีกโลกตะวันออก” พบครั้งแรกที่ประเทศ กัมพูชา

กระจายพันธุ์ :ในอินเดีย ด้านตะวันออก จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (17-18 ซม.) ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับนกโพระดกคอสีฟ้า แต่นกโพระดกหน้าผากดำมีขนาดเล็กกว่า หน้าผากสีดำ กระหม่อมสีฟ้า ขนบริเวณหูสีฟ้า เหนือขนบริเวณหูมี แถบสีแดง แก้มสีเหลืองมีเส้นสีดำล้อมรอบ คอด้าน ข้างมีแถบสีแดง คอหอยสีฟ้า คอหอยตอนล่างมีแถบ สีดำ

อุปนิสัยและอาหาร:อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น และป่ารุ่น ตั้งแต่ระดับพื้น ราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ อาจพบอยู่เป็นฝูงบนต้นไม้ที่ผลกำลังสุก และอาจพบอยู่รวมกับนกโพระดก ชนิดอื่น โดยเฉพาะนกตีทอง ในช่วงเย็นหรือหลังจาก กินอาหารจนอิ่ม มันมักบินไปเกาะตามกิ่งไม้แห้ง นก โพระดกหน้าผากด้ส่งเสียงร้องเกือบตลอดวัน แต่ร้อง บ่อยมากในช่วงเช้าและบ่าย มันมักร้องขณะเกาะตาม ยอดไม้และกิ่งไม้แห้ง โดยร้อง “โกเตก-โกเตก” ประมาณ 2 ครั้งต่อวินาที บางครั้งก็ร้องเป็นเสียง “เปลี่ยว เปลี่ยว” แต่ละพยางค์ห่างกัน 1 วินาที อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลไม้ขนาดเล็ก เช่น ไทร หว้า ตะขบ ผลของไม้เถา เป็นต้น นอกจากนี้ยังกิน แมลงและตัวหนอนด้วย

การผสมพันธุ์ : นกโพระดกหน้าผากดำผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามโพรงบนต้นไม้ที่ยืนต้นตายและ ค่อนข้างยุหรือต้นไม้เนื้ออ่อนที่ยังมีชีวิต อาจเป็นโพรง ที่เกิดตามธรรมชาติ โพรงที่นกหรือสัตว์อื่นทำไว้ หรือ โพรงที่มันขุดเจาะเอง ไม่มีวัสดุรองโพรง รังมีไข่ 2-4 ฟอง มันวางไข่แต่ละฟองทิ้งช่วงห่างกันนานกว่า 24 ชั่วโมง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟัก ไข่ 13-14 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา ไม่มีขน ปกคลุมร่างกาย และยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ ต้องกกและป้อนอาหารจนลูกนกมีขนปกคลุมเต็มร่างกาย แข็งแรง และบินได้ ประมาณ 1 เดือนหลังออกจาก ไข่ ลูกนกจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง

ไข่ :ไข่สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 18.3X24.5 มม.

สถานภาพ :นกโพระดกหน้าผากดำเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย cyanotis พบทางภาคเหนือ ชนิดย่อย stuarti พบทางภาค ตะวันตกและภาคใต้ ชนิดย่อย orientalis พบทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Blue-eared1.jpg Blue-eared2.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://live.staticflickr.com/8053/8372374401_a05fb07db5_b.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2013_05_13_22_09_21.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/blueeared_barbet2.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต