นกเขาเปล้าธรรมดา

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Thick-billed.jpg

วงศ์:Columbidae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Treron curvirostra (Gmelin) 1789.
ชื่อสามัญ:Thick-billed Green Pigeon
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:Thick-billed Pigeon, นกเขาเปล้า

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Treron curvirostra ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ cury, i หรือ curvus แปลว่าโค้ง และ rostr, =um แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกที่มีปากโค้ง” พบ ครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมีนกเขาเปล้าธรรมดา 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Treron curvirostra nipalensis (Hodgson) ชื่อชนิด ย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศ เนปาล และ Treron curvirostra chaseni Strese mann ชื่อชนิดย่อยนี้ดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคลคือ Chasen พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย

กระจายพันธุ์ : ในเนปาล จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (25-27 ซม.) แตกต่างจากนกเปล้าชนิดอื่นตรงที่มีปากหนาสีเหลือง แกมเขียว โคนปากสีแดง เบ้าตาสีน้ำเงินถึงเขียว ขา และนิ้วสีแดง หางด้านล่างสีเทา ขอบหางมีแถบกว้างสีดำ ตัวผู้กระหม่อมสีเทา คอหอยสีเขียวทีม ช่วง ไหล่สีแดงเข้ม อกสีเขียว ต้นขาสีเขียวเข้มและมีลาย ขีดสีขาว ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีน้ำตาลแดง ตัวเมียเมื่อมองดูไกล ๆ จะเห็นเป็นสีเขียวทั้งหมด และ มีลายแถบสีเหลืองที่ปีก แต่ถ้าดูใกล้ ๆ จะเห็นกระ หม่อมสีเทาตัดกับหัวสีเขียว ต้นขาสีเขียวเข้มและมีลาย ขีดสีขาวต่อเนื่องไปจนถึงขนคลุมโคนขนหางด้านล่าง ซึ่งมีสีเนื้อเข้มหรือสีครีม

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ป่าชายเลน และป่ารุ่น ในระดับที่ไม่สูงนักจนถึงระดับ 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบอยู่เป็นฝูงใหญ่ 10-40 ตัวหรือ มากกว่า โดยเฉพาะในช่วงนอกฤดูผสม อาจมีจำนวนนับพันตัว มันสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ทุกแนว ทั้งด้านบน ด้านล่าง และด้านข้าง ขณะเกาะต้นไม้มัก มองไม่ค่อยเห็นตัวเพราะมันมีสีสันกลมกลืนกับสีใบไม้ มาก เมื่อมีสิ่งรบกวนมันจะบินขึ้นพร้อมกัน แต่ไม่ นานมันจะบินกลับมาต้นเดิมอีก นกเขาเปล้าธรรมดา จะลงกินน้ำและโป่งในช่วงกลางวันและเย็น หรือหลัง จากกินอาหารตามปกติแล้ว ในช่วงเย็นมันมักเกาะ พักผ่อนตามยอดไม้แห้งโดยแนบอกและท้องติดกิ่งไม้ ในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนหรือแดดจัดมันจะเกาะตาม กิ่งไม้ที่มีใบแน่นทึบ ในช่วงกลางคืนมันจะเกาะนอน ตามกิ่งไม้ทึบเช่นกัน นกเขาเปล้าธรรมดากินผลไม้สุก โดยเฉพาะลูก ไทรและลูกหว้า มันจะใช้ปากปลิดผลไม้แล้วกลืนทั้งผล

การผสมพันธุ์ : นกเขาเปล้าธรรมดาผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือน มิถุนายน ทำรังตามง่ามกิ่งที่ติดกับลำต้นไม้หรือตามกอไผ่ รังอยู่สูงจากพื้นดินพอประมาณ รัง 2-3 รังอยู่ด้วยกัน รังเป็นแบบง่ายๆ ไม้เล็ก ๆ วางซ้อนกัน รังไข่ 2 ฟอง ทั้งสองเพศชาย กันหาวัสดุสร้างรังและฟักไข่ ใช้เวลาฟักทั้งสิ้น 14-15 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา มีขนปกคลุมลำตัวเล็ก น้อยและขึ้นห่าง ๆ รูปร่างเทอะทะ หัวโต และตาโปน ในช่วงแรกพ่อแม่จะเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมนก เมื่อลูกนก เติบโตพอประมาณพวกมันจึงป้อนตัวหนอนและผลไม้ ลูกนกจะเติบโตเร็วมาก เพียงประมาณ ๒ สัปดาห์ พวกมันจะแข็งแรง มีขนเกือบเต็มตัว และเริ่มหัดบิน เมื่อลูกนกบินได้ดี พวกมันจะทิ้งรังไปรวมกับนกครอบ ครัวอื่นเป็นฝูงใหญ่

ไข่ : ไข่เป็นรูปรี สีขาว มีขนาด 22.6x28.7 มม.

สถานภาพ :นกเขาเปล้าธรรมดาเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย nipalensis พบ ตั้งแต่คอคอดกระขึ้นมาตลอดทั่วทุกภาค ส่วนชนิดย่อย chaseni พบตั้งแต่คอคอดกระลงไปถึงภาคใต้ตอนใต้สุด

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=7GPapmsPdoI//https:
>>> นกเขาเปล้าธรรมดา <<<


Thick-billed1.jpg Thick-billed2.jpg Thick-billed3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://f.ptcdn.info/284/006/000/1371440436-7795-o.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201411/30/53593/images/479915.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201411/30/53593/images/479913.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201411/30/53593/images/479917.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต