ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกขมิ้นน้อยธรรมดา"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 1: แถว 1:
[https://www.youtube.com/watch?v=4qpma-qNeWg นกขมิ้นน้อยธรรมดา]
 
 
[[ไฟล์:Common iora1.jpg|right]]
 
[[ไฟล์:Common iora1.jpg|right]]
 
'''วงศ์''':Corvinae<br>
 
'''วงศ์''':Corvinae<br>
แถว 24: แถว 23:
 
 
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br>
 +
[[File:youtube01.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=4qpma-qNeWg//https:|link=//https://www.youtube.com/watch?v=4qpma-qNeWg]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=4qpma-qNeWg นกขมิ้นน้อยธรรมดา] <<< <br><br>
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Common iora2.jpg]] [[ไฟล์:Common iora3.jpg]] [[ไฟล์:Common iora4.jpg]] </center>
 
<center>[[ไฟล์:Common iora2.jpg]] [[ไฟล์:Common iora3.jpg]] [[ไฟล์:Common iora4.jpg]] </center>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:18, 7 กุมภาพันธ์ 2563

Common iora1.jpg

วงศ์:Corvinae
ชื่อวิทยาศาสตร์:Aegithina tiphia (Linnaeus)1758.
ชื่อสามัญ:Common iora
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ:นกขมิ้นน้อยสวน

มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Aegithina tiphia ยังไม่ทราบที่มาและความความของชื่อชนิด อาจมาจากคำว่า Tiphys ซึ่งเป็นกัปตันเรือ Argonauts ในนิยายกรีกโบราณที่ลงเรือไปหาขนแกะทองคำ พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมี 14 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ

  1. Aegithina tiphia philipi Oustalet ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม
  2. Aegithina tiphia cambodiana Hall ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือ ประเทศกัมพูชา และ
  3. Aegithina tiphia horizoptera Oberholser ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ horiz หรือ orizo แปลว่าแนวนอนหรือกั้นเขต และ pter,-o,=um หรือ pteron แปลว่าปีกหรือขน ความหมายคือ”มีลายที่ปีก” พบครั้งแรกที่ Nias Island ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และเกาะปาลาวัน

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (15 ซม.) ตัวผู้ลำตัวด้านบนสีเขียว วงรอบเข้าตาสีเหลือง ปีกและหางสีดำ มีลายแถบสีขาวที่ปีก ลำตัวด้านล่างสีเหลือง กระหม่อมและหลังบางตัวเป็นสีดำ ตัวเมียมีสีเขียวแทนที่บริเวณสีดำในตัวผู้ ปีกด้านบนมีลายแถบสีขาว ปีกด้านล่างมีลายแถบสีเหลือง ลำตัวด้านล่างมีลายแต้มสีเขียว

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน ป่ารุ่น ทุ่งโล่ง และสวนผลไม้ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั้งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่ แต่อาจพบหลายคู่หากินในบริเวณเดียวกัน มักกระโดดจากกิ่งไม้หนึ่งไปยังอีกกิ่งไม้หนึ่ง บางครั้งพบเกาะทางด้านข้างหรือด้านล่างของกิ่งไม้เพื่อจิกแมลง เป็นนกที่ร้องได้หลายแบบ แต่แบบที่ได้ยินบ่อยที่สุดคือเสียงคล้ายนกหวีด “หวีด-วิด” พยางค์แรกจะยาวมาก ส่วนพยางค์หลังสั้น เสียงร้องมักได้ยินไปไกลและร้องเกือบตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังเป็นรูปถ้วยเล็ก ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 ซม. อยู่สูงจากพื้นดิน 2-4 เมตร รังอยู่ตามง่ามหรือกิ่งของไม้พุ่มและต้นไม้ขนาดใหญ่ วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยต้นหญ้าและกิ่งไม้เล็ก ๆ โดยเชื่อมกันด้วยใยแมงมุม อาจมีใบหญ้าใบไม้แห้งวางตรงกลางแอ่งเพื่อรองรับไข่ รังมีไข่ 2-3 ฟอง

ไข่ : ไข่สีขาวแกมชมพูจาง มีลายดอกดวงสีน้ำตาลแกมม่วง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 13.5x17.5 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อนเริ่มฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 14 วัน ลูกนกเมื่อออกจากไข่มาใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุมร่างกาย และยังช่วยเหลือตนเองไม้ได้ พ่อแม่นกจะใช้เวลาเลี้ยงลูก 9-10 วัน

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย philipi พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ชนิดย่อย cambodiana พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และชนิดข่อย horizoptera พบทางภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันตก และภาคใต้

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=4qpma-qNeWg//https:
>>> นกขมิ้นน้อยธรรมดา <<<


Common iora2.jpg Common iora3.jpg Common iora4.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://adeq.or.th/wp-content/uploads/2016/09/นกขมิ้นน้อยธรรมดา.jpg
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/commoniora003obi.jpg
https://live.staticflickr.com/4105/5054411011_c70e0f1094_b.jpg
https://gerryganttphotography.com/images/thainature/DTHN0114CommonIora.jpg

แหล่งที่มาของเนื้อหา
จากหนังสือนกในเมืองไทย ผู้เขียน รศ.โอภาส ขอบเขต