กระบกกรัง

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Krabokkrang.jpg
ชื่อไทย : กระบกกรัง ตะเคียนหนู กระบากดำ ปราง หงอนไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea helferi (Dyer) Brandis
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 30 ม.
  • เปลือก สีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม เมื่ออ่อนเรียบ แล้วเริ่มแตกเป็นร่องหรือเป็นแผ่น มีหยดน้ำยางเล็กน้อย
  • ใบ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 10-24 ซม. ปลายเรียวแหลม สั้น โคนทู่หรือค่อนข้างรูปหัวใจ ค่อนข้างเบี้ยว ตาใบและปลายกิ่งมีขนละเอียด ใบแก่หนาคล้ายหนังสีเขียวเข้ม เกลี้ยงด้านบน ด้านล้างมีนวลและเกล็ดสีนวลเล็กๆ มีขนสีน้ำตาลบนเส้นใบด้านล่าง ไม่มีตุ่มขน เส้นกลางใบเป็นร่องตื้นด้านบน เส้นนใบ 13-18 คู่เล็กเรียวค่อนข้างตรง มีเส้นใบสั้นแซมหลายเส้นระหว่างเส้นใบ เส้นใบร่างแหรูปขั้นบันได เห็นชัดด้านล่าง หูใบรูปขอบขนานแคบ ยาวถึง 9 มม. ร่วงเร็ว
  • ดอก สีครีมถึงสีออกเหลือง เป็นช่อแน่น 2 ช่อถึงหลายช่อยาว 11 ซม. ที่ปลายกิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง ตาดอกรูปใบหอก กว้างถึง 2 มม. ยาวถึง 3 มม. กลีบเลี้ยงมีขนด้านนอก กลีบด้านนอก 2 กลีบ รูปใบหอก กลีบด้านใน 3 กลีบสั้นกว่า รูปไข่ปลายเรียวแหลม เกสรตัวผู้ 15 อัน อับเรณูรูปรีแคบติดบนก้านชูเรียวแหลม ปลายยอดอับเรณูมีรยางค์เล็กยาวประมาณ 15 เท่าของอับเรณู รังไข่รูปขอบขนาน ด้านบนเล็กเรียวไปยังก้านเกสรตัวเมียสั้น มีขน
  • ผล ปีกยาว 2 ปีก กว้างถึง 1.5 ซม. ยาวถึง 6 ซม. รูปช้อน ปลายทู่ ส่วนอีก 3 ปีกสั้น รูปไข่ยาวถึง 3 มม. กว้างถึง 5 มม. เป็นแถบแบน ตัวผลรูปไข่ ปลายสั้น ปีกหุ้มมาประมาณ 1/3 ของผล
พบทั่วไปในป่าดิบที่ต่ำ เชืงหน้าผาเขาหินปูน

แหล่งที่มาของภาพ
http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87&typeword=group