มะปริง

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Mapring.jpg
ชื่อไทย : มะปริง มะยง มะผาง โค้ง สะตา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea Oppositifolia (Roxb.) Meisn.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ไม้ต้น สูงถึง 6-30 ม. ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบช่วงสั้น เรือนยอดแน่น กิ่งต่ำๆ ห้อยลง

  • เปลือก สีน้ำตาลอมส้มถึงสีน้ำตาลออกม่วงเข้ม เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นหรือเป็นแผ่น เปลือกในสีชมพูอมส้มถึงสีน้ำตาลอมแดง มีเส้นใยเล็กน้อย มีน้ำเลี้ยงเป็นยางใสหรือสีออกแดง
  • ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม แผ่แบน รูปรีแคบถึงรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 1.2-4 ซม. ยาว 4-12 ซม. ปลายเรียวแหลม พบน้อยที่ปลายทู่ โคนแหลม ขอบเรียบ ใบอ่อนสีม่วง ห้อยเป็นพู่ไหสอ่อน ใบแก่หนาคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวเข้มขุ่นด้านบน ด้านล่างสีอ่อนกว่าหรือสีออกเทาเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีกลิ่นชันเมื่อขยี้ใบ เส้นกลางใบนูนด้านบน เส้นใบ 8-16 คู่เล็กเรียว จมด้านบน นูนด้านล่าง เส้นใบย่อยเป็นร่างแหละเอียด จางทั้งสองด้าน ก้านใบเล็กเรียว ยาว 0.7-1.5 ซม. กิ่งเล็กเรียว ตามข้อมักแบน สีน้ำตาลเข้ม เกลี้ยง ตารูปกรวยแคบ ยาว 5-10 มม.
  • ดอก ยาวประมาณ 3 มม. เล็ก สีขาวถึงสีเหลืองอมเขียวอ่อน ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อแตกแขนงยาวถึง 25 ซม. ที่ซอกมบหรือปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงปลายมีแฉก รูปไข่กว้าง 3-5 ซม. พูยาวประมาณ 1 มม. กลีบดอกรูปขอบขนาน 3-5 กลีบ ยาวประมาณ 2 มม. ไม่เท่ากัน มีสันตรงกลาง เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ 3-5 อันยาวประมาณ 1.5 มม. ติดรอบจานฐานดอกเล็กแบน รังไข่เหนือวงกลีบยาวประมาณ 1 มม. มี 1 ช่อง มีก้านเกสรตัวเมียสั้นติดตรงกลาง
  • ผล รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว 2.5-3.5 ซม. สุกสีเหลืองถึงส้ม เกลี้ยง เปลือกบาง มีเนื้อ ผนังผลชั้นในแข็ง ภายในมี 1 เมล็ด เนื้อนุ่ม กินได้ พันธุ์ป่ามักมีรสเปรี้ยว

พบทั่วไปในป่าดิบที่ต่ำถึงสูง 600 ม. ปลูกตามบ้าน


Mapring2.jpgMapring3.jpgMapring4.jpg


http://baodansinh.vn/Images/2015/09/15/dansinh/1_ThanhTra_zps6911dc5e.jpg
https://www.samunpri.com/wp-content/uploads/2017/03/มะปริง1.jpg
https://www.samunpri.com/wp-content/uploads/2017/03/มะปริง2.jpg
https://www.samunpri.com/wp-content/uploads/2017/03/มะปริง3.jpg