ลาย

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Lai.jpg
ชื่อไทย : ลาย พลับพลา ขนาน ตาปลา ปอกุ่ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microcos paniculata L.
ชื่อวงศ์ : TILIACEAE
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นเล็ก ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 20 ม. เรือนยอดแน่นเกะกะ ลำต้นเป็นร่องเล็กน้อย คดหรือบิดตรงบริเวณโคนต้น

  • เปลือก สีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลอมเทา หรือออกดำบาง แตกเล็กน้อยเปลือกในสีครีมถึงออกส้ม มีขีดตามขวางสีอ่อน สีจะเข้มขึ้นเมื่อถูกอากาศ
  • ใบ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 8-20 ซม. ออกแบนระนาบเดียวกัน ห้อยลง รูปขอบขนานแกมรีถึงกึ่งรูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลม โคนทู่หรือกลม ค่อนข้างพอสมมาตร ขอบจักซี่ฟันตื้นห่างๆ ไปทางปลาย พบน้อยขอบเรียบ ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้ม ค่อนข้างเป็นมันด้านบน เนื้อบาง ด้านล่างเกลี้ยงหรือมีขนกระจายบนเส้นใบ เส้นใบ 3 เส้นออกจากโคนใบ คู่ข้างทำมุมสูงชัน ยาวขึ้นไป 1/2 ของความยาวใบ เส้นใบข้าง 4-8 คู่ ห่างกัน ส่วนมากอยู่ในครึ่งใบบน เส้นใบย่อยเป็นขั้นบันได เห็นชัดด้านล่าง มีเส้นใบเล็กลงไปอีก (บางกว่าเส้นใบย่อย) เป็นขั้นบันได ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. เกลี้ยงหรือมีขนยาวสีขาว หูใบรูปสามเหลี่ยมขาว ปลายแหลม ค่อนข้างติดทน
  • ดอก ยาว 1-1.5 ซม. สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อแตกแขนงกว้างหรือกึ่งห้อยลง ยาว 3-10 ซม. ที่ปลายกิ่งและตามซอกใบบนๆ กลีบเลี้ยงยาว 5-8 ซม. รูปไข่กลับแคบหรือรูปช้อน มีขนสีอ่อนทั้งสองด้าน กลีบดอกกว้าง 1 มม. ยาวประมาณ 2 มม. (ยาว 1/3 เท่าของกลีบเลี้ยง) รูปขอบขนานแกมรี ปลายโค้งกลับ มีต่อมใหญ่มีขนที่โคนด้านใน เกสรตัวผู้เกลี้ยง รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรตัวเมียมียอดเกสรตัวเมียเล็กแหลม
  • ผล ยาว 0.8-1.5 ซม. กลมถึงไข่กลับ ปลายกลมทั้งสองด้าน ไม่มีโคนแคบเป็นก้าน ไม่เป็นพู สีเขียวออกเหลืองสด สุกสีเขียวเข้มถึงสีดำผมม่วง เกลี้ยง หนาเหนียว ผนังผลชั้นในใหญ่แข็ง 1 อัน

พบทั่วไปในที่ต่ำทั่วไป ทั้งในป่าผลัดใบและป่าดิบ ตลอดจนป่ารุ่น


Lai2.jpgLai3.jpgLai4.jpg


https://medthai.com/wp-content/uploads/2013/12/ดอกไม้ลาย.jpg
https://medthai.com/wp-content/uploads/2013/12/ใบพลับพลา.jpg
https://medthai.com/wp-content/uploads/2013/12/ลักษณะพลับลา.jpg
https://medthai.com/wp-content/uploads/2013/12/ดอกพลับพลา.jpg