ปอหู

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Por.jpg
ชื่อไทย : ปอหู ปอจง ขี้เถ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus macrophyllus Roxb. ex Hornem.
ชื่อวงศ์ : MALVACEAE
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบบางส่วน สูงถึง 28 ม. เรือนยอดแตกกิ่งกว้าง

  • เปลือก สีครีมถึงเทาอ่อน เรียบหรือแตกเป็นแผ่นตื้น มีช่องอากาศใหญ่ เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู มีเส้นใยแข็ง
  • ใบ ยาว 15-35 ซม. ใหญ่ กลมหรือรูปไข่กว้าง ปลายแหลมสั้น โคนรูปหัวใจ ไม่จักเป็นพู ขอบเรียบหรือมีซี่ฟันเล็กตื้น ยอดอ่อนมีหนาม มีขนแข็งสีน้ำตาลอมเหลือง ยาวได้ถึง 7 มม. ใบแก่สีเขียวขุ่นด้านบน มีขนนุ่มทั้งสองด้าน โดยเฉพาะบนเส้นใบด้านล่าง ใบแก่สีเหลือง เส้นใบ 7-9 เส้นออกจากโคนใบ มีต่อมยาว (3-20 มม.) อยู่ที่ครึ่งบน ก้านใบยาว 10-26 ซม. มีหนามและขนละเอียด หูใบยาว 6-12 ซม. ใหญ่และเห็นชัด คล้ายแถบหนัง มีขนยาวสีเหลืองเหนียวหนาแน่น ร่วงเร็ว กิ้งใหญ่ล่ำ ขนหยาบ มีรอยแผลเป็นของหูใบเป็นวงชัด
  • ดอก ขนาด 7-8.5 ซม. บานเด่น สีเหลืองสดตรงกลางดอกสีม่วงเข้ม เปลี่ยนเป็นสีแดงขึ่นเมื่อแก่ ออกเดี่ยวที่ซอกใบหรือเป็นช่อหลวมๆ ยาวถึง 25 ซม. และมีใบลดรูปที่ปลายกิ่ง ก้านดอกมีหนามและขนละเอียด ริ้วประดับยาว 1.5-2.5 ซม. แยกเป็นแฉกแคบ 0-14 แฉก มีหนามแน่น กลีบเลี้ยงยาว 1.5-2.5 ซม. รูประฆัง ปลายจักประมาณ 1/2 เป็นแฉกสามเหลี่ยม 5 แฉก มีหนามด้านนอกไม่มีต่อมและเกล็ด มีขนเส้นไหมด้านในกลีบดอกยาว 6-8 ซม. รูปไข่กลับ ปลายกลม บิดเข้าด้วยกันเป็นกรวยเปิด เส้าเกสรตัวผู้ยาวประมาณ 4 ซม. สั้นกว่ากลับดอกมาก โดยมีอับเรณู ติดตลอดเส้า ก้านเกสรตัวเมียแยกเป็นแฉกกาง 5 แฉก ยาวประมาณ 5 มม. รูปไข่หรือไข่กลับ ปลายเป็นจะงอยสั้น โคนมีกลีบเลี้ยงและเป็นริ้วประดับติดทน มีหนามยาวสีทองแน่นด้านนอก ด้านในเกลี้ยงและเป็นมัน แตกออกเป็น 5 เสี่ยง เมล็ดจำนวนมากมีขน

พบทั่วไปในภาคใต้ ตามป่ารุ่น สองข้างทางตั้งแต่ที่ต่ำถึงสูง 600 ม. ไม่พบตามชายฝั่งทะเล


แหล่งที่มาของภาพ
http://www.dnp.go.th/botany/image/Web_dict/Talipariti_macrophyllum2.jpg