หูกวาง

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Hoo.jpg
ชื่อไทย : หูกวาง โคน ดัดมือ ตัดมือ ตาปัง ตาแปห์ หลุมปัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

หูกวางเป็นไม้ต้นผลัดใบช่วงสั้น สูงถึง 25 ม. ทรงต้นเมื่ออายุยังไม่มากรูปเจดีย์ โดยมีกิ่งเรียงเวียนแบนเป็นชั้นในแนวราบ ต้นแก่ลำต้นใหญ่โค้งงอ เรือนยอดไม่เป็นระเบียบแต่ยังคงแตกกิ่งด้านข้างชัด

เปลือก สีครีมถึงสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตื้นและเป็นชิ้นเล็กๆ เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู ยอดอ่อนปกคลุมด้วยขนคล้ายเส้นไหมสีทองแน่น ใบแก่คล้ายแผ่นหนังเกลี้ยงและเป็นมันด้านบน ด้านล่างเกลี้ยง พบน้อยที่มีขนละเอียด เมื่อแห้งมีสิวเม็ดเล็กๆทั้งสองด้าน
ใบ รูปไข่กลับหรือพบบ้างรูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-25 ซม. ปลายทู่หรือแหลมสั้น ค่อยๆสอบไปยังโคนกลมหรือโคนกึ่งรูปหัวใจ เส้นกลางใบเป็นร่องด้านบน ใบแก่สีแดงสด เส้นใบ 6-9 คู่อยู่ห่างกันจมด้านบน โค้งและหายไปใกล้ขอบใบ เส้นใบย่อยเป็นร่างแห มักมีตุ่มที่ซอกเส้นใบ ก้านใบยาว 0.5-1.2 ซม. สั้นและใหญ่ มักมีขนละเอียด มีต่อมไม่ชัดที่ปลายก้านใบหรือที่โคน กิ่งใหญ่(หนาประมาณ 8 มม.ที่ปลาย) มีรอยแผลเป็นที่ใบหลุดไปขนาดใหญ่
ดอก สีขาวหรือสีเขียวอมเหลืองอ่อน มีกลิ่น ออกเป็นช่อเชิงลดไม่แตกแขนง ยาว 8-16 ซม. ตามง่ามใบบนๆ ดอกส่วนมากเป็นดอกตัวผู้ ก้านดอกยาวแต่ดอกล่างๆในช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงโคนรูปถ้วยตื้น ปลายเป็นพูสามเหลี่ยม ยาว 1-1.5 มม. มักเกลี้ยง เกสรตัวผู้ยาว 2.5 มม. ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง ก้านเกสรตัวเมียยาวประมาณ 2 มม. เกลี้ยง
ผล รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3.5-7 ซม. ค่อนข้างแบน มีสันแคบที่ขอบทั้งสองด้าน สีเขียวสด เมื่อสุกสีเหลืองหรืออมแดง เกลี้ยงและเป็นมันด้านนอก ด้านในเนื้อคอร์ก* มีรูอากาศทั่วไป ผนังผลชั้นในใหญ่แข็ง

พบตามชายหาดทรายหรือโขดหิน ชายฝั่งอันดามัน นิยมปลูกตามสองข้างถนนทั่วประเทศ

Hoo2.jpgHoo3.jpg


http://book.baanlaesuan.com/wp-content/uploads/2016/05/bangal-almond2.jpg
https://medthai.com/wp-content/uploads/2014/07/ใบหูกวาง.jpg
https://medthai.com/wp-content/uploads/2014/07/ดอกหูกวาง.jpg