ชุมแพรก

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ชื่อไทย : ชุมแพรก ทองสุก เสียดช่อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heritiera javanica (Blume) Kosterm.
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE
ไม้ต้น กึ่งผลัดใบ สูงได้ถึง 30 ม. ลำต้นกลมพูพอนเล็ก สูงได้ถึง 2 ม. มีหน่อเป็นจำนวนมาก

  • เปลือก สีน้ำตาลอ่อน เรียบหรือแตกเป็นแผ่นและมีเกล็ด เปลือกในสีแดง
  • ใบ ประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 5-7 ใบ กว้าง 3-7 ซม. ยาว 9-17 ซม. ก้านใบย่อยยาว 1-2 ซม. เล็กเรียว รูปรีถึงรูปไข่กลับ ปลายทู่หรือค่อนข้างแหลม โคนรูปลิ่มกว้าง มักเบี้ยวเล็กน้อย ด้านบนมักมีหลุมเล็กๆ (ต้องดูด้วยกล้องขยาย) เกลี้ยงทั้งสองด้าน ยกเว้นกระจุกขนที่ซอกเส้นใบ เส้นใบ 12-16 คู่ เป็นมุมตื้น เส้นใบย่อยเป็นขั้นบันไดชิดกันเห็นชัดแต่ไม่นูนด้านล่าง ก้านใบยาว 8-18 ซม. เล็กเรียว ค่อนข้างพองทั้งสองด้าน กิ่งมีขนละเอียดคล้ายผงสีเหลือง มีรอยแผลใบชัด ตายอดแหลมมีขนละเอียดคล้ายผง
  • ดอก ยาว 0.5 ซม. สีเขียวอมเหลืองหรือออกแดงออกเป็นช่อแตกแขนงเล็ก เรียว ยาว 13-20 ซม. ตามซอกใบหรือใต้รอยแผลใบ กลีบเลี้ยงรูประฆัง ปลายจัก 1/3 เป็นแฉกสามเหลี่ยม 5 แฉก ยาว 1 มม. กางออก มีขนทั้งสองด้านดอกตััวผู้ มีเกสรตัวผู้อยู่ 10 อัน เป็นกระจุกไม่เป็นระเบียบ อยู่ปลายก้านชูใหญ่ ไม่มีรังไข่เป็นหมัน ดอกตัวเมียมีรังไข่รูปห้าเหลี่ยม ยาว 1.5 มม. มีสันนชัด 5 สัน ปลายมียอดเกสรตัวเมียเป็นแถบแคบแผ่ออก 5 อัน
  • ผล กว้าง 3 ซม. ยาว 10 ซม. มีปีกใหญ่ด้านหนึ่ง แห้ง แก่ไม่แตก ตัวผลกว้าง 1 ซม. ยาว 2 ซม. เกลี้ยง

พบทั่วไปในภาคใต้ ในเรือนยอดบนๆ ของป่าดิบที่ยังไม่ถูกทำลายมากนัก