จันทน์ชะมด

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Chanchamod.jpg
ชื่อไทย : จันทน์ชะมด จันทน์ขาว จันทน์หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansonia gagei J.R.Drumm. ex Prain
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE
ไม้ต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง 20 ม.

  • เปลือก สีออกขาวถึงเทาอ่อน เรียบหรือแตกเป็นแผ่นตาราง
  • ใบ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-14 ซม. เดี่ยว ออกสลับเวียน รูปไข่ถึงขอบขนานแกมรี ปลายแหลม โคนแบนหรือรูปหัวใจตื้น มักเบี้ยวเล็กน้อย ขอบจักห่างๆ โดยเฉพาะในครึ่งบน ยอดอ่อนมีขนกระจาย ใบแก่คล้ายหนังบาง เกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบข้าง 5-7 คู่ ทำมุมแหลมชัน ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. พองเล็กน้อยที่ปลายทั้งสองด้าน หูใบรูปใบหอก ร่วงเร็ว
  • ดอก ยาว 2-2.5 ซม. สีขาว สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อแตกแขนง ยาวได้ถึง 15 ซม. ตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงคล้ายกาบ แตกด้านเดียว กลีบดอก 5 กลีบ แยก กว้าง 5 มม. ยาว 10 มม. รูปคล้ายช้อนหรือใบหอกกลับ ปลายกลม โคนค่อนข้างแคบ มีขนสีอ่อนกระจายด้านนอก ด้านในเกลี้ยง เกสรตัวผู้สมบูรณ์ 10 อัน ก้านชูอับเรณูเล็กเรียวกางออก ยาว 2-3 มม. อยู่เป็นคู่สลับกับเกสรที่เป็นหมัน 5 อัน เรียงเป็นวงรอบเกสรตัวเมียอยู่ 5 อัน มีขนที่ปลาย ของก้านชูเกสรร่วม รังไข่แต่ละอันมีก้านเกสรตัวเมียโค้งและยอดเกสรตัวเมียแหลม
  • ผล กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3.5-4.5 ซม. รูปรีแบน มีปีกใหญ้โค้งที่ปลายด้านหนึ่ง มักออกเป็นคู่ แห้ง แก่ไม่แตก ตัวผลกว้าง 0.6 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. มีเมล็ด 1 เมล็ด

พบน้อยในป่าผลัดใบที่ต่ำ บนเขาหินปูนที่ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช


แหล่งที่มาของภาพ
https://www.samunpri.com/wp-content/uploads/2017/02/จันทน์ชะมด1.jpg