ยางนา

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Yangna.jpg
ชื่อไทย : ยางนา ยาง ยางขาว ชันนา ยางตัง ยางหยวก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ไม้ต้นใหญ่กึ่งไม่ผลัดใบหรือผลัดใบช่วงสั้น สูงถึง 45 ม. ลำต้นเปลาตรง เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 180 ซม.

เปลือก สีเทาอ่อนถึงสีน้ำตาลครีม เมื่ออ่อนค่อนข้างเรียบ เมื่อแก่เริ่มแตกเป็นแผ่นกลมบาง
ใบ รูปไข่แคบหรือรูปรี กว้าง 6-12 ซม. ยาว 15-25 ซม. ปลายแหลม โคนทู่ถึงกลมหรือกึ่งรูปหัวใจ มักจะเป็นคลื่นระหว่างเส้นใบ ใบอ่อนมีขนสีออกเหลืองแน่นโดยเฉพาะตามขอบใบ ใบแก่มีขนสั้นสีอ่อนอย่างน้อยบนเส้นกลางใบด้านบน ด้านล่างมีขนมากกว่า เส้นใบ 14-18 คู่ ก้านใบยาว 2.5-4 ซม. บวมที่ปลายขนนุ่ม
ดอก สีครีมหรือชมพูอ่อน มีแถบสีม่วงแดงเข้มจากตอนกลางด้านล่างของกลีบดอกขนาดประมาณ 4 ซม. เป็นช่อหลวมๆ มี 4-5 ดอกที่ซอกใบอ่อน ขนละเอียด กลีบเลี้ยงมีสันกว้าง 5 สั้น เกสรตัวผู้มีประมาณ 30 อัน รังไข่มีขนแน่น มีก้านเกสรตัวเมียแข็งมีสัน
ผล มี 2 ปีกใหญ่ กว้าง 2-2.7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ส่วนอีก 3 ปีกสั้น 1-1.4 ซม. พับตัวผลกลมหรือรูปไข่ สันคล้ายปีก กว้าง 5-10 มม. ออกจากปลายไปยังโคน

พบทั่วไปในป่าดิบแล้ง สูงถึง 500 ม. มักปลูกในวัดหรือสองข้างทาง จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา

Yangna2.jpgYangna3.jpgYangna4.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/wp-content/uploads/2015/09/รูปต้นยางนา.jpg
https://medthai.com/wp-content/uploads/2015/09/ต้นยางนา.jpg
https://medthai.com/wp-content/uploads/2015/09/ใบยางนา.jpg
https://medthai.com/wp-content/uploads/2015/09/ผลยางนา.jpg