ไกรทอง

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Kraithong.jpg
ชื่อไทย : ไกรทอง แก่นแดง เข็ดมูล พิกุลทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythroxylum cuneatum (Miq.) Kurz
ชื่อวงศ์ : ERYTHROXYLACEAE
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 25 ม.

  • เปลือก สีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลอมเทา เป็นร่องตามแนวตั้งหรือแตกเป็นร่องละเอียด เปลือกในสีเหลืองถึงสีนน้ำตาลออกแดง
  • ใบ เดี่ยว ออกสลับรูปรีหรือขอบขนาน กว้าง 2.5 ซม. ยาว 4-12 ซม. ปลายทู่หรือกลม โคนเรียวแหลม ขอบเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ใบอ่อนขอบม้วนเข้า ทิ้งเส้นตามยาว 2 เส้นให้เห็นในใบแก่ เส้นใบ 8-10 คู่เป็นวงและเชื่อมกันห่างจากขอบเส้นใบ เส้นใบย่อยละเอียด แตกแขนงจำนวนมากและเป็นร่างแหชัดด้านล่าง ก้านใบยาว 3-8 มม. มีปีกเล็กน้อย หูใบยาว 4-6 มม. โค้งและแคบแหลม ร่วงง่ายทิ้งรอยแผล เป็นรูปครึ่งวงกลมชัด กิ่งแบนเมื่อยังอ่อน กิ่งแก่สีน้ำตาลแดงเป็นมัน
  • ดอก กว้าง 0.7-1 ซม. สีขาวอมเขียวอ่อนถึงเหลืองอ่อน สมบูรณ์เพศ เป็นช่อกระจุกไม่แตกแขนง มี 2-6 ดอกตามซอกใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม. เป็นร่องกว้างไปยังปลายกลีบเลี้ยงยาว 2 มม. โคนรูประฆัง ปลายแยก 5 พู ยาวเท่ากับโคน กลีบดอกแยก 5 กลีบ กว้าง 1.5 มม. ยาว 2.5 มม. โคนแคบ ด้านในมีรยางค์เป็นฝอยตั้งตรง เกสรตัวผู้ 10 อัน ยาว 2-4 มม. โคนเชื่อมเป็นหลอดสั้น รังไข่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรตัวเมีย 3 อันเชื่อมกันตามยาว
  • ผล ยาว 0.7-1.2 ซม. สีเขียวอมเหลือง สุกสีแดงสด ขอบขนานหรือรี มีก้านเกสรตัวเมียติดที่ปลายและเกสรตัวผู้ติดที่โคน เนื้อเหนียวหรือนุ่ม แก่ไม่แตก รูปกึ่งสามเหลี่ยมเมื่อตัดขวาง มีช่อที่สมบูรณ์ 1 ช่อง

ขึ้นได้ในหลายพื้นที่ เห็นเป็นพุ่มตามป่าชายหาด มีดอก 2 แบบ แต่ไม่พบในต้นเดียวกัน แบบมีก้านเกสรตัวเมียยาวเกือบเท่ากับเกสรตัวผู้และแบบก้านเกสรตัวเมียยาวกว่าเกสรตัวผู้มาก


Kraithong2.jpgKraithong3.jpg