สะตอ

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Sator.jpg
ชื่อไทย : สะตอ ตอตาน กะตอ ตอข้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia speciosa Hassk.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงได้ถึง 40 ม. เรือนยอดกว้าง มักมีพูพอนชัด สูงได้ถึง 1.5 ม.

  • เปลือก สีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแดง เรียบหรือลอกเป็นแผ่นเล็ก เปลือกในสีแดง มีรอบขีดขาว
  • ใบ ประกอบขนนก 2 ชั้น ช่อใบ 11-20 คู่ มีใบย่อยเล็ก ออกตรงข้าม 20-40 คู่ กว้าง 1.5-2.5 มม. 5-10 มม. รูปขอบขนานแคบเกือบตรง ปลายทู่หรือกลม โคนเบี้ยว มีซี่ฟันเล็กๆ ด้านหนึ่ง เส้นกลางใบอยู่ตรงกลางถึงกลางใบ เส้นใบจาง ก้านใบยาว 3-8 ซม. มีต่อมรีตรงกึ่งกลางแกนกลางใบยาว 15-30 ซม. มีต่อมกลมเล็กกว่าไปทางปลาย ช่อใบป่องที่โคน มีต่อมเล็กๆไปยังปลาย
  • ดอก ออกเป็นช่อ กระจุกรูปกระบอง กว้างประมาณ 4 ซม. ยาวประมาณ 6 ซม. ห้อยลงมาจากปลายกิ่ง มีก้านช่อห้อยยาวได้ถึง 50 ซม. ช่อกระจุกมี 4-10 ช่อ แต่ช่อกระจุกมีดอกปุกปุยสีขาว เป็นหมัน ที่โคนช่อ มีแถบของดอกตัวผู้อยู่ตรงกลาง ซึ่งมีต่อมน้ำหวานและมีดอกสมบูรณ์เพศสีเหลืองกลุ่มใหญ๋ไปถึงทางปลายช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกยาว 6-10 มม. รูปกรวยถึงเป็นหลอด ปลายมีพู 5 พู ยาว 1-1.5 มม. เกสรตัวผู้มี 10 อัน ยาวพ้นกลีบดอก 2.5 มม. โคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 5-8 มม.
  • ฝัก กว้าง 3-5 ซม. ยาว 36-45 ซม. หลายฝักห้อยลง ปลายก้านช่อฝักพอง (ฐานดอก) แต่ละฝักรูปคล้ายสายเข็มขัด เนื้อคล้ายหนัง มักบิดเป็นเกลียว พองตรงเมล็ดและคอดระหว่างเมล็ดประมาณ 18 เมล็ด กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. กลมหรือรูปไข่ เรียงขวางฝัก สีเขียวสด มีกลิ่นแรง

พบทั่วไป ในป่าดิบที่ต่ำ มีปลูกกันมากตามหมู่บ้าน เพื่อกินเมล็ดและฝักอ่อน


Sator2.jpgSator3.jpg


https://i2.wp.com/kasettumkin.com/wp-content/uploads/2017/06/897896-img.rcps2j.0p.jpg?resize=550%2C358&ssl=1
http://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/08/สะตอ.jpg
http://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/08/ดอกสะตอสะตอ.jpg