หลุมพอ

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Lum.jpg
ชื่อไทย : หลุมพอ มือบา เมอบา กะลุมพอ สะหลุมพอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Intsia palembanica Miq.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ไม้ต้นใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้น สูงได้ถึง 50 ม. เรือนยอดคล้ายโดม กิ่งใหญ่ พูพอนแผ่กว้าง สูงได้ถึง 7 ม.

เปลือก สีเทาอ่อนถึงน้ำตาลอมส้ม แตกเป็นแผ่นกลมบาง เปลือกในสีแดงอ่อน มีเส้นใย
ใบ ประกอบแบบขนนกยอดคู่ มีใบ่ย่อย 4 คู่ ออกตรงข้าม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7-12 ซม. พบน้อยที่กว้างถึง 10 ซม. ยาวถึง 18 ซม. รูปไข่ถึงขอบขนาน ปลายทู่หรือเกือบแหลม โคนเกือบเบี้ยว ใบแก่เนื้อคล้ายหนังเป็นมันด้านบนเกลี้ยง มักมีต่อมคล้ายหลุม 1-2 คู่ใกล้โคนใบด้านล่าง เส้นกลางใบนูนทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยยาว 2-5 มม. บิดแกนกลางใบยาว 10-18 ซม. มีขนกระจายเมื่อยังอ่อน
ดอก สมบูรณ์เพศเป็นช่อแตกแขนง ยาว 5-10 ซม. ที่ปลายกิ่งและซอกใบบนๆ ก้านดอกยาว 3-12 มม. ฐานดอกรูปถ้วยยาว 3-4 มม.สั้นกว่ากลีบเลี้ยงมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 มม. สีเขียวอ่อนมีขนละเอียดสีเทาด้านนอก กลีบดอก 1 กลีบ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 6-10 ซม. สีขาวถึงเหลืองอ่อนรูปช้อนกว้าง มีโคนเป็นก้านสีแดง เกสรตัวผู้สมบูรณ์ 3 อัน มีก้านชูอับเรณูเล็กเรียว สีม่วงเข้ม ยาว 2-4 ซม. อับเรณูสีแดงยาว 3 มม. มีเกสรตัวผู้เป็นหมันสั้นกว่า 4-7 อัน ยาว 0.4-1 ซม. ทั้งหมด เชื่อติดกันที่โคนเป็นวงแหวนตื้น รังไข่ยาว 6 มม. มีก้านสั้น สีเขียวออกเหลืองอ่อน มีขนสีอ่อน ก้านเกสรตัวเมียเรียวยาวเท่าเกสรตัวผู้
ผล กว้าง 6-9 ซม. ยาว 15-40 ซม. เปลือกหนา สีเขียวตอนยังสดอยู่ แห้งสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ติดอยู่บนต้นนานกว่าจะแตก มีได้ถึง 8 เมล็ด กลมแบนขนาด 3-4.5 ซม. ไม่มีเนื้อ

พบทัั่วไปในป่าดิบที่ยังไม่ถูกบุกรุก ถูกตัดไปมมากจากการทำไม้ เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ชิดหนึ่งในภาคใต้ มักจะมีเรือนยอดเด่นโผล่ขขึ้นจากป่ามองเห็นได้ไกลๆ

Lum2.jpgLum3.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
http://board.trekkingthai.com/board/upload/photo/2007-02/1311270_45cIeWwACU2523.jpg
http://board.trekkingthai.com/board/upload/photo/2007-02/1311292_NTAlKkFtWP4544.jpg
http://board.trekkingthai.com/board/upload/photo/2007-02/1311297_mWl6W7GQKi5141.jpg