เต้าหลวง
จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 02:23, 22 กุมภาพันธ์ 2561 โดย Kwanchaya (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "'''ชื่อไทย :''' เต้าหลวง ทะ มะหัง หูช้าง <br>'''ชื่อวิทยาศาสตร์ :''...")
ชื่อไทย : เต้าหลวง ทะ มะหัง หูช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macaranga gigantea (Rchb.f. & Zoll.) Mull. Arg.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ไม้ต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก สูงประมาณ 10-15 ม. เรือนยอดโปร่ง ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีเทาอ่อน มีตุ่มระบายอากาศกระจายทั่วลำต้น ในต้นอ่อนจะเรียบ เกลี้ยง และมีรอยแผลของใบเป็นรูปโล่ เปลือกชั้นในสีชมพูหรือขาวอมชมพู เป็นเส้นใยและ มีน้ำยางสีชมพู
- ใบ เดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงเวียนรอบปลายกิ่ง เกือบกลม ขนาด 45-75 ซม. ขอบใบ มี 3-5 พู ตื้นๆ ยอดอ่อนและด้านล่างของใบแก่มีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่ ก้านใบยาว 20-50 ซม. มีหูใบ
- ดอก แยกเพศแยกต้น ขนาดเล็กสีเขียว ดอกเพศผู้เป็นช่อเรียวตามซอกของกาบรองดอกที่เป็น 3 พู เล็กๆ ยาว 15-35 ซม.ไม่มีก้านชูดอก กลีบเลี้ยง มี 3-4 กลีบ ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ มี 10-18 อัน ดอกเพศเมียเป็นกลุ่มตามซอกใบ ช่อดอก ยาว 10-20 ซม. คล้ายดอกเพศผู้ แต่มีก้านเกสรเพศเมียสั้นๆ สีแดง มี 2-3 อัน รังไข่มีต่อมสีเหลือง
- ผล แห้งแตก เป็นพู กลม สีเขียว ขนาด 0.5-1 ซม. มี 2 พู แตกออกได้เป็น 2 ซีก มีแกนตรงกลาง ผงสีเหลืองเหนียวๆ สุกสีดำ เมล็ด สีดำ มีเนื้อสีส้มบางๆ หุ้ม
พบขึ้นในที่ชุ่มชื้นที่เปิดโล่ง ในป่าชั้นที่สองและช่องว่างของป่าดิบ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 300-500 ม.