ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระบากดำ"

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "'''ชื่อไทย :''' กระบากดำ กระบากขาว เคียนทราย ตะบากดำ <br>'''ชื่อ...")
 
(ล็อก "กระบากดำ" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแล...)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 14:55, 7 กุมภาพันธ์ 2561

ชื่อไทย : กระบากดำ กระบากขาว เคียนทราย ตะบากดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea farinosa C. E. C. Fisch.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ไม้ต้นกึ่งผลัดใบ สูงถึง 30 ม.
  • เปลือก สีน้ำตาลอมเทา หนา แตกเป็นร่องลึก เปลือกในสีเหลืองแก่ มีเส้นใย
  • ใบ รูปรีกว้างถึงรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-6 ซม. ยาว 8-15 ซม. ค่อยเรียวแหลมไปยังปลาย ปลายใบยอดบาก โคนทู่หรือกลม เนื้อคลายหนังบาง เกลี้ยงทั้งสองด้าน มีตุ่มใบขน เส้นกลางใบเป็นร่องด้านบน นูนด้านล่าง เส้นใบ 12-18 คู่ เล็กเรียวโค้ง มีเส้นสั้นแซมระหว่างระหว่างเส้นใบไม่มากนัก นูน เส้นใบย่อยเป็นขั้นบันไดเป็นชัด ก้านใบเรียวยาวประมาณ 1.8 ซม.
  • ดอก สีขาวถึงเหลืองอ่อน ช่อใหญ่ยาวถึง 18 ซม. ที่ปลายยอดและง่ามใบบน เมื่ออ่อนมีขนละเอียด ตาดอกรีกว้าง กว้าง 4 มม. ยาวถึง 6 มม. กลีบเลี้ยงมีพูรูปรีแกมรูปไข่ ไม่ค่อยเท่ากัน กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีขนบนส่วนที่ยื่นออกมาจากตา เกสรตัวผู้ 25 อัน อับเรณูรูปขอบขนานแคบ ปลายมีรยางค์คล้ายเส้นด้าย ยาว 1.5-3 เท่าของอับเรณู มีขนที่ครึ่งบน รังไข่รูปไข่แคบ มีขนละเอียดถึงค่อนข้างเกลี้ยง ปลายเรียวไปยังแท่งก้านเกสรตัวเมีย ก้านเกสรตัวเมียยาวกว่ารังไข่ ปลายแยกเป็น 3 ง่าม
  • ผล ปีกยาว 3 ปีีก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 6-9 ซม. รูปคล้ายช้อนปลายทู่ มีขนหรือเกลี้ยง อีก 2 ปีกสั้นเล็กกว้าง 0.5-1 ซม. ยาว 2-5 ซม. ตัวผลรูปไข่ กว้าง 1.5 ซม. ยาว 3 ซม. ปลายเรียวแหลม เกลี้ยงโคนปีกหุ้มผลมิด
พบในป่าดิบที่ต่ำ ใกล้น้ำ