พะยูง

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 10:08, 1 มีนาคม 2561 โดย Kwanchaya (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "'''ชื่อไทย :''' พะยูง กระยง ประดู่ตม ประดู่น้ำ <br>'''ชื่อวิทยาศ...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

ชื่อไทย : พะยูง กระยง ประดู่ตม ประดู่น้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochichinensis Pierre
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 15-30 ม. เรือนยอดแตกแขนงมาก

  • เปลือก สีน้ำตาลอ่อน ลอกถึงแตกเป็นแผ่นไม่เป็นระเบียบและเป็นร่อง
  • ใบ ยาว 13-25 ซม. ใบประกอบแบบขนนกยอดเดี่ยว มีใบย่อย 3-4 คู่ ออกสลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. รูปไข่กว้างถึงรูปไข่แคบ ปลายทู่หรือเรียวแหลมสั้น โคนทู่หรือกลม ยอดอ่อนมีขนละเอียด ใบแก่สีเขียวเข้มขุ่นด้านบน สีออกเทาด้านล่าง เกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบ 7-9 คู่เห็นชัดทั้งสองด้าน เส้นใบเล็กๆ ค่อนข้างจางด้านบน ชัดด้านล่าง ก้านใบย่อยยาว 2.5 มม. หูใบเล็ก ร่วงเร็ว
  • ดอก ยาวประมาณ 0.6 ซม.สีขาวมีสีเหลืองอ่อนแซมด้านใน กลิ่นหอม เป็นช่อแตกแขนง ที่ปลายกิ่งและตามซอกใบบนๆ ยาว 10-20 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 1 มม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 5 มม. สีเขียวอ่อน เกลี้ยง กลีบดอกทุกกลีบยาว 5-6 มม. ก้านกลีบยาวประมาณ 1.5 มม. กลีบกลางกลม ปลายเป็นแอ่ง เกสรตัวผู้มี 10 อัน เชื่อมติดกันเป็น 1 มัด รังไข่ยาวประมาณ 3 มม. เกลี้ยง มีก้านยาวเท่ากับรังไข่ มีขนก้านเกสรตัวเมียยาว 1.5 มม.
  • ผล กว้าง 1 ซม. ยาว 4-8 ซม. รูปขอบขนานขอบตรงขนานกัน ปลายทั้งสองด้านแคบ แบนมาก (พองเล็กน้อยตรงส่วนที่เป็นเมล็ด) สีเขียวอ่อน แก่เมื่อสีน้ำตาลอ่อนและเปราะ ผนังบาง เกลี้ยง มี 1-3 เมล็ด กว้าง 4 มม. ยาวประมาณ 6 มม. สีน้ำตาลแดง รูปไต

พืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ปลูกน้อยในภาคใต้