ยางขน

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 14:25, 1 มีนาคม 2561 โดย Kwanchaya (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "'''ชื่อไทย :''' ยางขน ยางกล้อง ยูงแดง ยูงใบใหญ่ ยางมดคัน <br>'''ช...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

ชื่อไทย : ยางขน ยางกล้อง ยูงแดง ยูงใบใหญ่ ยางมดคัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus baudii Korth.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงถึง 30 ม. ลำต้นเปลาตรง เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 70 ซม.

  • เปลือก สีเทาอ่อนถึงสีน้ำตาล มีช่องอากาศสีอ่อนกระจายทั่วไป ต้นแก่แตกเป็นรอยเล็กๆและเป็นแผ่นใหญ่
  • ใบ ใหญ่ รูปรี กว้าง 9-17 ซม. ยาว 18-30 ซม. ปลายแหลมกว้าง โคนทู่หรือกึ่งรูปหัวใจ ขอบเป็นคลื่นตื้นๆ ยอดอ่อนมีขนหยาบสีทองหรือกลุ่มขนสีน้ำตาลแดง ใบแก่คล้ายหนัง บาง มีขนบนเส้นกลางใบด้านบน มีขนติดแน่นโดยเฉพาะบนเส้นใบด้านล่าง เส้นกลางใบค่อนข้างแบนด้านบน เส้นใบมี 14-22 คู่ ก้านใบยาว 3-5 ซม. มีขนหยาบ หูใบยาวถึง 15 ซม. ด้านนอกขนหยาบ ด้านในเกลี้ยง กิ่งก้านแข็ง มีขนหยิกสีน้ำตาลอมส้ม
  • ดอก สีชมพูอ่อนหรือสีม่วงแดงเข้ม ออกเป็นช่อหลวมๆ ไม่แตกแขนง มีดอกถึง 6 ดอกที่ซอกใบ มีขนแน่น ขนาดประมาณ 5 ซม. กลีบเลี้ยงไม่มีสัน เกสรตัวผู้ประมาณ 30 อัน อับเรณูเรียวแหลม มีรยางค์ยาวประมาณ 1/2-2/3 ของอับเรณู รังไข่และก้านเกสรตัวเมีย 1/3 ตอนล่างมีขน
  • ผล มีปีกใหญ่ 2 ปีก กว้าง 2-3.5 ซม. ยาวประมาณ 10-20 ซม. เป้นแถบ ส่วนอีก 3 ปีก สั้นกลม โคนไม่พับ กว้างถึง 1 ซม. ยาวถึง 2.5 ซม. พับตัวผลกลม ไม่มีสัน ขนาด 1.5-2.5 ซม. เมื่ออ่อนมีขน

พบทั่วไปในป่าดิบที่ถูกทำลาย สูงถึง 500 ม. หรือตามแหล่งน้ำในป่าดิบที่มีไม้ไผ่ จังหวัดชุมพรถึงสตูล