สัก

จาก การจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ป่าภาคใต้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงอำเภอวิภาวดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 14:07, 4 มีนาคม 2561 โดย Kwanchaya (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "'''ชื่อไทย :''' สัก ปายี้ ปีฮี ปีฮือ เส่บายี้ <br>'''ชื่อวิทยาศาส...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

ชื่อไทย : สัก ปายี้ ปีฮี ปีฮือ เส่บายี้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f.
ชื่อวงศ์ : LABIATAE
ไม้ต้นใหญ่ ผลัดใบ สูงได้ถึง 30 ม. เรือนยอดแคบไม่เป็นระเบียบ มีกิ่งใหญ่ๆ ชูชัน ลำต้น เส้นผ่าศูนย์กลางยาวได้ถึง 180 ซม. แล้วเริ่มเป็นร่องและมีพูพอนเล็กน้อยที่โคน เมื่ออายุมากขึ้น เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือออกเทา ลอกออกเป็นแถบแคบตามยาว เปลือกในสีข่วถึงเหลืองอ่อน มียางเหนียว เมื่อถูกอากาศเป็นสีดำ

  • ใบ กว้าง 12-35 ซม. ยาว 15-60 ซม. ยาวมากกว่าเมื่อแตกบนหน่อ มักมีขนาดเล็กกว่าใต้ช่อดอก รูปไข่กลับกว้างถึงรูปไข่ ปลายทู่หรือแหลมสั้น โคนเรียวแหลม ขอบเรียบ กิ่งอ่อนมีขนรูปดาวสีออกเหลืองแน่น ใบแก่เนื้อหยาบด้านบน มีขนขุยนุ่มสีออกเหลืองกระจายถึงแน่นด้านล่าง ก้านใบยาว 1.5-5 ซม. ใหญ่ล่ำ มีปีกแคบ มีขนขุย กิ่งเป็นเหลี่ยมเมื่อตัดขวาง มีขนขุยเมื่อยังอ่อน
  • ดอก ยาวประมาณ 0.7 ซม. เล็กสีขาว บางทีมีแต้มสีออกชมพูหรือจุดสีม่วงแดงด้านนอก สมมาตร ออกเป็นช่อแตกแขนงกว้าง ทรงปีระมิด กว้างได้ถึง 40 ซม. ยาวได้ถึง 50 ซม. ตั้งตรงที่ปลายกิ่งและตามซอกใบบนๆ ที่ลดรูปลงคล้ายใบประดับช่อดอก ยื่นเหนือใบและปกคลุมทั้งเรือนยอดเวลาออกดอก กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 มม. รูประฆัง มีซี่ฟัน 6 ซี่เท่ากัน ยาวน้อยกว่า 1 มม. มีขนสีน้ำตาลด้านนอก กลีบดอกโคนรูปกรวยปลายมีพู 6 พู เท่ากัน ยาวประมาณ 3 มม. รูปไข่ปลายทู่หรือกลม บางงทีเป็นแอ่งหรือจักลึก กางหรือพับกลับ มีขนด้านนอกและที่คอหลอดด้านใน เกสรตัวผู้มี 6 อัน ค่อนข้างเท่ากัน ติดใกล้โคนหลอดและยื่นยาวพ้นคอหลอดกลีบดอก อับเรณูสีส้มอมเหลือง รังไข่มีขนแน่น ก้านเกสรตัวเมียมี 1 อัน เล็กเรียวยาวเกือบเท่าเกสรตัวผู้
  • ผล ยาว 1.8-2.5 ซม. แห้ง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงพองบางคล้ายกระดาษล้อมรอบผนังผลชั้นในแข็งที่มีขนยาวประมาณ 1 ซม. ภายในมีช่องว่าง 4 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ด 1 เมล็ด

พืชพื้นเมืองของอินเดีย เมียนมาร์ และภาคเหนือของไทย ปลูกตามถนนและหมู่บ้านในภาคใต้ ออกดอกดกมากช่วงหน้าฝน