นกแอ่นกินรัง

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Collocalia fuciphaga01.jpg

วงศ์ : Apodidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Collocalia fuciphaga (Gmelin) 1789.
ชื่อสามัญ : Edible-nest swiftlet
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Grey-rumped swiftlet , White-nest swiftlet

นกแอ่นกินรังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Collocalia fuuciphaga ชื่อชนิดมาจาก fuc, -i, -us เป็นรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่าสาหร่ายทะเลหรือสีแดง (รากศัพท์ภาษาละติน) แปลว่าสาหร่ายทะเลหรือสีแดง (รากศัพท์ภาษากรีกคือ phukos ก็มีความหมายเหมือนกัน) และ phag, =e, -o หรือ phagos เป็นรากศัพท์ภาษากรีก แปลว่ากิน ความหมายคือ “นกที่กินสาหร่ายทะเลเป็นอาหาร” ชึ่งเป็นการเข้าใจผิด เพราะนกชนิดนี้ไม่กินพืชเป็นอาหาร เพียงแต่หากินอยู่เหนือน้ำทะเลและอาจลงกินน้ำเป็นครั้งคราวแต่ไม่ได้กินสาหร่ายทะเลแต่อย่างใด

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย เวียดนามตอนใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดา เกาะปาลาวัน และฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็กมาก (12-13 ซม.) ดูเผิน ๆ เป็นสีดำ โดยลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมดำ ตะโพกสีเข้มจนเห็นเป็นสีดำ ลำตัวด้านล่างเป็นสีน้ำตาล ปกติเมื่อดูในธรรมชาติแทบจะไม่แตกต่างจากนกแอ่นพันธุ์หิมาลัยและนกแอ่นหางสี่เหลี่ยม จะแตกต่างกันตรงที่นกแอ่นกินรังมีขนาดเล็กกว่า ปีกสั้นกว่ากระพือปีกได้เร็วกว่า แข้งไม่มีขนหรือมีเพียงเล็กน้อยปลายหางเว้าตื้น หรือเป็นแฉกลึกประมาณร้อยลุ 10-19 ของความยาวของหาง ปีกยาว 11.0-12.5 ซม.

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามเกาะกลางทะเลชายฝั่งทะเล และในเมืองที่ใกล้กับแม่น้ำ มีกิจกรรมและหากินในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนจะเกาะอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ตามรัง ผนังถ้ำ หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น โบสถ์ บ้านเรือน เป็นต้น ในช่วงเช้าจะบินออกจากแหล่งอาศัย ไปหากินรังเป็นนกที่กระพือปีกบินสลับร่อนตลอดทั้งวันโดยไม่มีการหยุด ยกเว้นในช่วงมีลูกอ่อนที่มันจะนำอาหารมาป้อนลูกที่รังเป็นครั้งคราว แม้กระทั่งเวลาผสมพันธุ์ก็เชื่อกันว่ามันทำขณะที่ร่อนอยู่กลางอากาศในช่วงที่มีฝนตกมันจะไม่บินออกไปหากิน แต่จะรอจนกระทั่งฝนหยุดหรือซาลงแล้วจึงบินออกหากินตามปกติช่วงเย็นมันจะบินกลับแหล่งที่อยู่อาศัย ในที่บางแห่งเช่น ถ้ำที่ค่อนข้างมืด มันสามารถบินได้ดีโดยไม่ชนสิ่งกีดขวางใด ๆ ทั้งนี้เพราะมันจะส่งเสียงร้องออกไปแล้วฟังเสียงสะท้อนกลับ ทำให้รู้ว่ามีสิ่งใดขวางทางหรือไม่ นกแอ่งกินรังกินแมลงขนาดเล็กเป็นอาหารโดยบินโฉบจับด้วยปากกลางอากาศ มันมีพฤติกรรมการกินน้ำโดยบินเหนือระดับน้ำเล็กน้อย จากนั้นจะโฉบลงกินน้ำครั้งแล้วครั้งเล่าจนกระทั่งอิ่ม

การผสมพันธุ์ : นกแอ่นกินรังผสมพันธุ์เกือบตลอดทั้งปี แต่จะพบมากที่สุดในช่วงที่ฝนตกน้อยที่สุดในรอบปี รังเป็นรูปถ้วยครึ่งซีก ขนาดยาวตามขอบบนเฉลี่ย 13.3 ซม. และลึกเฉลี่ย 5.1 ซม. ทำรังตามผนังถ้ำ หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น โบสถ์อาหารบ้านเรือน รังสร้างจากสิ่งที่สกัดออกมาจากต่อมน้ำลายโดยไม่มีวัสดุใด ๆ ปน นกจะสร้างรังเฉพาะในเวลากลางคืน ใช้ระยะเวลาสร้างรังทั้งสิ้น 30-35 วันรังของนกแอ่นกินรังเป็นที่นิยมใช้เป็นอาหารโดยเฉพาะชาวจีน ไต้หวัน แลฮ่องกง โดยเชื่อกันว่าเป็นยาชูกำลังอย่างดีเลิศ อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของนกแอ่นกินรังโดยนิสา (2528) พบว่ารังนกน้ำหนัก 100 กรัม มีโปรตีนร้อยละ 54.0 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 23.3 น้ำร้อยละ 16.8 ไขมันร้อยละ 0.3 และอื่น ๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัสร้อยละ 5.6 นกแอ่นกินรังมีพฤติกรรมการสร้างรังทดแทน (re-nest) คือมันจะสร้างรังใหม่ขึ้นทดแทนรังที่ถูกทำลายรังแรกจะมีสีขาวหรือขาวมอ แต่รังต่อ ๆ ไปจะมีสีแดงของเลือดผสมด้วย รังที่ 2 ใช้เวลาสร้าง 20-25 วัน และถ้าถูกทำลายอีกจะสร้างรังที่ 3 โดยใช้เวลา 15-17 วัน ปกติมันจะสร้างเพียง 3 รังเท่านั้นแม้รังจะถูกทำลายไปอีกและมันยังไม่ได้วางไข่ก็ตามแต่บางตัวก็สร้างรังที่ 4 และ 5 การเก็บรังนกแอ่นกินรังในประเทศไทย มักเก็บรังแรกหลังจากที่นกวางไข่ ลูกนกฟักเป็นตัว และทิ้งรังไปแล้ว ไม่นิยมเก็บรับนกก่อนที่นกวางไข่เพื่อให้นกสร้างรังที่ 2 ทดแทน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะรังที่ 2 มีสีออกแดง ราคาไม่ดีเท่ากับรังแรกหรือเป็นเพราะไม่ต้องการรบกวนนกมากนัก หากรบกวนมากและนกหนีไป รายได้จากการเก็บรังนกก็จะน้อยลง ไม่คุ้มกับการได้รับสัมปทานเก็บรังนกรังนกซื้อขายกันประมาณกิโลกรัมละ 8,500 บาท ทั้งนี้รังนกจำนวน 80-85 รังจึงนะได้น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม

ไข่ : ของนกแอ่นกินรังเป็นรูปยาวรี ปลายทั้งสองข้างเรียว มีขนาดเฉลี่ย 12.4x19.6 มม. เปลือกไข่มีผิวเรียบและบาง ไข่สีขาว รังมีไข่ 2 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันสร้างรังและฟักไข่ โดยฟักเฉพาะในช่วงกลางคืน ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 22-25 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตาและไม่มีขนปกคลุมลำตัว ในช่วงกลางวันพ่อแม่นกจะช่วยกันดูแลและหาอาหารมาป้อนส่วนช่วงกลางคืนจะช่วยกันกกให้ความอบอุ่น ประมาณ 5-6 สัปดาห์ลูกนกจะบินได้แข็งแรง จากนั้นจะทิ้งรัง

สถานภาพ : นกแอ่นกินรังเป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยแลปริมาณปานกลางตามเกาะทางภาคใต้และชายฝั่งทะเลทั่วไปทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันนอกจากนี้ยังมีรายงานพบบริเวณกรุงเทพมหานครด้วย

กฎหมาย : จัดนกแอ่นกินรังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Collocalia fuciphaga02.jpg Collocalia fuciphaga03.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ec/AerodramusFuciphagus.LipKee.jpg
http://reportage.goasia.it/wp-content/uploads/sites/3/2012/05/29I-Rondoni-nel-nido-Collocalia-Fuciphaga1.jpg
http://skds3.vcmedia.vn/Images/Uploaded/Share/2010/01/19/Khanhhoachimyen1.jpg