ดูโค้ดสำหรับ นกกินเปี้ยว
←
นกกินเปี้ยว
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''วงศ์''' : Todirhamphus Lesson <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Todirhamphus chloris'' (Boddaert) 1783.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Collard Kingfisher<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกินปู , นกปูเปี้ยว , White-collared Kingfisher , Mangrove Kingfisher<br><br> นกกินเปี้ยวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Todirhamphus chloris'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ chlor,-o หรือ khloris แปลว่าสีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลืองความหมายคือ “นกที่มีสีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลือง” พบครั้งแรกที่เกาะบูรู (Buru) ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกกินเปี้ยว 47 ชนิดย่อยประเทศไทยพบเพียง 2 ชนิดย่อยคือ Todirhamphus chloris armstrongi Bowdler Sharpe ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร และ Todirhamphus chloris humii Bowdler Sharpe ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่รัฐเซลังงอ ประเทศมาเลเซีย '''กระจายพันธุ์''' : ในอินเดีย จีนด้านตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดา ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และแปรซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (23-24 ซม.) ปากสีดำ ขนบริเวณหูสีน้ำเงิน หัว ลำตัวด้านบน และปีกด้านบนเป็นสีเขียวแกมน้ำเงิน ลำตัวด้านล่างสีขาวรอบคอมีแถบสีขาว ขาและนิ้วสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ในป่าชายเลน ป่าที่น้ำทะเลท่วมถึง ป่าชายหาด และสวนผลไม้ใกล้กับแม่น้ำลำคลอง ส่วนใหญ่พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ไม่ค่อยพบอยู่เป็นฝูง มีกิจกรรมในเวลากลางวัน มักเกาะตามกิ่งไม้แห้งหรือตอไม้เช่นเดียวกับนกกระเต็นชนิดอื่น ขณะเกาะลำตัวตั้งเกือบตรง มันบินได้ดีสามารถหลบหลีกต้นไม้และกิ่งไม้ในป่าที่แน่นทึบได้อย่างคล่องแคล่ว ขณะบินมักร้อง “เกร็ก-เกร็ก-เกร็ก” ช้ำ ๆ กัน บางครั้งก็ร้องขณะเกาะ อาหารนกกินเปี้ยวกินปู โดยเฉพาะปูเปี้ยวหรือปูก้ามดาบ ปูแสม และปูตามป่าชายเลน นอกจากนี้มันยังกินแมลง กบ เขียด ปลา งู กิ้งก่า และจิ้งจก มันหาอาหารโดยเกาะตามกิ่งไม้หรือตอไม้ บางครั้งตามโขดหินหรือเนินดินที่น้ำท่วมไม่ถึง คอยจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบเหยื่อมันจะบินลงมาโฉบจับด้วยปาก แล้วคาบเหยื่อบินขึ้นไปเกาะตามกิ่งไม้ ฟาดเหยื่อจนตาบ จากนั้นมันจะกลืนเหยื่อทั้งตัว บางครั้งมันยังบินโฉบจับแมลงกลางอากาศด้วย '''กาผสมพันธุ์''' : นกกินเปี้ยวผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ปกติทำรังตามโพรงต้นไม้ที่อยู่บริเวณแหล่งหากิน โพรงอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเป็นโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ เช่น มด ปลวก กระรอก เป็นต้น บางตัววางไข่บนตอไม้ซึ่งยอดหักตามธรรมชาติหรือถูกโค่น โพรงหรือตอไม้มักอยู่ไม่สูงจากพื้นดินนัก ปกติไม่มีวัสดุรองโพรง หากต้นไม้ต้นหนึ่งมีหลายโพรง ทุกโพรงจะถูกนกกินเปี้ยวใช้ทำรังหมด บางครั้งจะพบมันจิกตีกันเพื่อแย่งสถานที่ทำรังบางคู่อาจใช้โพรงที่นกกินเปี้ยวคู่อื่นทิ้งรังไปแล้ว '''ไข่''' :มีรูปร่างค่อนข้างกลม สีขาวเป็นมัน ไม่มีลาย มีขนาดเฉลี่ย 24.0x29.1 มม. รังมีไข่ 3-4 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ จะเริ่มฟักเมื่อออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ส่วนใหญ่มันฟักไข่ในเวลากลางคืน แต่วันที่ฝนตกหรืออากาศเย็นอาจฟักในเวลากลางวันด้วยใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 19-21 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา ขาและนิ้วยังไม่แข็งแรง และไม่มีขนปกคลุมลำตัว ช่วงนี้พ่อแม่จะช่วยกันกกลูกและหาอาหารมาป้อน ในขณะที่ตัวใดตัวหนึ่งไปหาอาหาร อีกตัวหนึ่งจะคอยเฝ้าป้องกันอันตรายอยู่บริเวณปากโพรง อาหารที่นำมาป้อนในระยะแรกมักเป็นแมลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน เมื่อลูกนกเติบโตพอประมาณแล้วพวกมันจึงจะนำปูเปี้ยวมาป้อน พ่อแม่นกจะป้อนอาหารด้วยการเกาะที่ปากโพรง ลูกนกจะยื่นปากออกมารับอาหารเอง ลูกนกเจริญเติบโตและพัฒนาขนปกคลุมลำตัวค่อนข้างเร็ว อายุ 2-3 สัปดาห์ก็แข็งแรง สามารถบินได้และทิ้งรัง '''สถานภาพ''' : นกกินเปี้ยวเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย armstrongi พบตามชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดตราดจนถึงคอคอดกระ ชนิดย่อย humii พบตามชายฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนใต้สุด '''กฎหมาย''' : จัดนกกินเปี้ยวทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกกินเปี้ยว
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า