ดูโค้ดสำหรับ นกปรอดสวน
←
นกปรอดสวน
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''วงศ์''' : Pycnonotus Boie <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Pycnonotus blanfordi'' (Jerdon), 1862.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Streak-eared Bulbul<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Blanford’s Bulbul, Blanford’s Olive Bulbul<br><br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Pycnonotus blanfordi'' ชื่อชนิดมาจากชื่อของ W.T. Blanford (ค.ศ.1832-1905) นักธรณีวิทยา นักสัตววิทยา และนักสะสมตัวอย่างสัตว์ชาวอังกฤษ พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Pycnonotus blanfordi conradi (Finsch) ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร '''กระจายพันธุ์''' : เป็นนกเฉพาะถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นมาเลเซียตอนใต้ พม่าด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และเวียดนามตอนเหนือ '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (20 ซม.) ลักษณะไม่แตกต่างจากนกปรอดสีไพลใหญ่ แต่สีโดยทั่วไปจางและออกเป็นสีเขียวอมเหลืองมากกว่า บริเวณหูมีลายขีดสีขาวและมักเด่นชัดกว่า ตาสีเทา ปีกสีเขียว ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองอ่อน ตัวไม่เต็มวัยตาสีน้ำตาล '''อุปนิสัยและอาหาร''' : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่ารุ่น ป่าละเมาะ สวนผลไม้ แหล่งกสิกรรม รวมถึงในหมู่บ้านและเมือง พบในระดับต่ำจนกระทั่งเชิงเขาระดับความสูงประมาณ 915 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินตามต้นผลไม้ ไม้พุ่ม และลงมายังพื้นดินเป็นครั้งคราว มักเกาะในบริเวณที่โล่ง ในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนอาจหลบตามพุ่มไม้ อาหารได้แก่ ผลไม้ เช่น ไทร หว้า ชมพู่ มะละกอ มะม่วง ผลตำลึงสุก เป็นต้น สำหรับผลไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักจะเกาะตามกิ่งไม้ที่มีผลสุก ใช้ปากเด็ดผลไม้ออกจากขั้วแล้วกลืนกินทั้งผล สำหรับผลไม้ที่มีขนาดใหญ่จะใช้ปากจิกกินทีละชิ้น นอกจากนี้ยังจิกกินแมลงและตัวหนอนตามลำต้น กิ่งก้าน และยอดไม้ บางครั้งไล่จิกกินตามพื้นดิน และบ่อยครั้งที่โฉบจับแมลงกลางอากาศ แต่ไม่ไกลจากที่เกาะมากนัก '''การผสมพันธุ์''' : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน รังเป็นรูปถ้วยประกอบด้วยใบไม้แห้ง ใบหญ้าแห้ง เส้นใบมะพร้าว และวัสดุเยื่อใยอื่น รังอยู่ตามต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะไม้ผล เช่น ขนุน กระท้อน ชมพู่ มะม่วง ข่อย เป็นต้น รังอยู่สูงจากพื้นดิน 2.5-4.5 เมตร กว้าง 5.5 ซม. และลึก 2.3 ซม. รังมีไข่ 2-3 ฟอง '''ไข่''' : สีเนื้ออ่อน มีลายจุดสีน้ำตาลแดงทั่วฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 16.2x22.9 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน จะเริ่มฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ 12-14 วัน ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุมลำตัว พ่อแม่จะช่วยกันหาอาหารมาป้อน ซึ่งในระยะแรกเป็นตัวหนอน และแมลง เมื่อลูกนกโตพอประมาณจึงหาผลไม้มาป้อน ประมาณ 14-16 วันลูกนกจะโต แข็งแรง บินได้ และทิ้งรังไปในที่สุด '''สถานภาพ''' : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค '''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกปรอดสวน
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า