ดูโค้ดสำหรับ นกยางไฟหัวดำ
←
นกยางไฟหัวดำ
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''วงศ์''' : Ixobrychus Billberg <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Ixobrychus sinensis'' (Gmelin) 1789.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Yellow Bittern<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Chinese Yellow Bittern , Chinese Little Bittern<br><br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Ixobrychus sinensis'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่คือ sinens แปลว่าแห่งประเทศจีน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรก ความหมายคือ “นกยางไฟที่พบครั้งแรกที่ประเทศจีน” ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย '''กระจายพันธุ์''' : ในอินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน จีน ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และนิวกินี '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (37-38 ซม.) ปากหนาและตรง มีสีเหลือง ยาวกว่า 5.2 ซม. นับว่าเป็นปากที่ยาวที่สุดในบรรดานกยางไฟด้วยกันคอยาวปานกลาง แต่ขณะบินและยืนนิ่งจะหดคอสั้นปีกยาวปานกลาง ประมาณ 9.5-13.0 ซม. ปลายปีกค่อนข้างแหลม ขายาวปานกลาง มีขนปกคลุมเกือบถึงข้อ แข้งและนิ้วสีเขียวแกมเหลือง ลำตัวเป็นสีน้ำตาลแดง บริเวณหัว ขนปลายปีก โคนปีก และปลายหาเป็นสีดำ ตัวผู้ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอ่อน ตัวเมียและตัวไม่เต็มวัยมีลายขีดสีน้ำตาลตั้งแต่คางจนถึงท้องซึ่งแตกต่างจากตัวผู้ชัดเจน และสามารถแยกออกได้ง่ายแม้จะสังเกตในธรรมชาติ '''อุปนิสัยและอาหาร''' : มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ อาศัยอยู่ตามกก อ้อ หรือหญ้าสูงบริเวณแหล่งน้ำ เช่น บึง ทะเลสาบ หนอง คลอง ชายเลน เป็นต้น เวลามีศัตรูหรือสิ่งรบกวนจะบินหนีหรือเดินหลบไปยังพงพืชที่ทึบกว่า ช่วงทำรังวางไข่ ถ้ามีศัตรูหรือสิ่งรบกวนมันจะเดินหลบไปให้ไกลจากบริเวณที่สร้างรังพอสมควรแล้วจึงบินหนี เวลาบินกลับรังมันจะไม่บินลงมาที่รังโดยตรง แต่จะลงห่างจากรังมันจะไม่บินลงมาที่รังโดยตรง แต่จะลงห่างจากรังพอสมควรแล้วค่อย ๆ เดินผ่านกอพืชไปยังรังเพื่อไม่ให้ศัตรูสังเกตตำแหน่งของรังได้ พฤติกรรมนี้จัดเป็นพฤติกรรมอำพรางอย่างหนึ่งบางครั้งเมื่อถึงคราวจำเป็น ลูกนกที่ยังบินไม่ได้ก็สามารถว่ายน้ำหนี เมื่อแน่ใจว่าปลอดภัยแล้วหรือพ่อแม่ร้องเรียกจึงจะกลับรัง นกยางไฟหัวดำหากินและมีกิจกรรมในช่วงเช้าตรู่หรือเย็นค่ำ แต่บางครั้งอาจออกหากินในเวลากลางวันด้วย อาหารส่วนใหญ่ได้แก่แมลง โดยเฉพาะแมลงปอเข็ม แมลงปอบ้าน จิ้งหรีด และตัวหนอนของแมลงนอกจากนี้ยังกินงูขนาดเล็กและสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง หอย ปู กบ เขียด เป็นต้น มันหาอาหารโดยการเกาะตามต้นพืชหรือพืชลอยน้ำจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบจะใช้ปากงับแล้วกลืนทันที '''การผสมพันธุ์''' : นกยางไฟหัวดำผสมพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณกลางเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมทำรังอยู่โดดเดี่ยวตามพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำหรือชายน้ำ เช่น อ้อ กก หญ้าต่างๆ ไม่อยู่เป็นกลุ่มอย่างนกยางสีขาวทั่วไป ก่อนทำรังตัวผู้จะเกี้ยวพาราสีโดยส่งเสียงร้องและบินไล่ต้อนตัวเมีย เมื่อตัวเมียยินยอม ทั้งคู่จะผสมพันธุ์กันจากนั้นทั้งคู่จะช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง รังเป็นแบบง่าย ๆ เพียงใช้ก้านและสำต้นพืชบริเวณที่สร้างรังมาวางซ้อนกันบทโคนของพืชเหล่านั้นแล้วทำแอ่งตรงกลางโดยทั่วไปรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 20-25 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 8-10 ซม. และอยู่สูงจากระดับน้ำ 10 – 15 ซม. '''ไข่''' : สีขาวไม่มีลาย มีขนาดเฉลี่ย 26-35X33.60 มม. รังมีไข่ 3-5 ฟอง พบ 4 ฟองบ่อยที่สุด มันจะวางไข่ทุกวัน วันละ 1 ฟองในช่วงเช้า ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช่เวลาฟักไข่ประมาณ 15-17 วัน ลูกนกจะใช้ฟันเจาะเปลือกไข่เจาะออกมาเอง ลูกนกแรกเกิดหนักประมาณ 10 กรัม ตาโปนสีดำ เบ้าตาสีฟ้า ปากและขาสีแดง มีขนอุยสีขาวหรือสีออกครีมปกคลุมลำตัวบางส่วน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ทางลำตัวด้านบน ผิวหนังส่วนที่ไม่มีขนปกคลุมมีสีแดง เมื่อลูกนกมีอายุ 1 สัปดาห์ปากจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว เริ่มมีขนแข็งสีน้ำตาลอมเหลืองปกคลุมลำตัว สามารถเดินและเกาะตามกิ่งพืชที่อยู่รอบ ๆ รังได้ดี อายุ 3-4 สัปดาห์ ลูกนกจะมีขนแข็งปกคลุมทั่วตัว มีสีคล้ายกับตัวเต็มวัย ตัวเมีย แต่ตัวเล็กกว่า และจะเริ่มหัดบิน หลังจากนั้นลูกนกจะแยกจากพ่อแม่ไปหากินเองตามลำพัง ช่วงที่ลูกนกยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันกกและหาอาหารมาป้อนโดยการสำรอกอาหารใส่ปากลูกนกซึ่งอ้าปากรอรับอยู่ เมื่อลูกนกโตพอประมาณแล้วพ่อแม่จะสำรอกอาหารไว้ที่พื้นรังให้ลูกนกจิกกินเอง '''สถานภาพ''' : เป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกที่อพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณปานกลางทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบบางส่วน '''กฎหมาย''' : จัดนกยางไฟหัวดำเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกยางไฟหัวดำ
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า