ดูโค้ดสำหรับ นกตีทอง
←
นกตีทอง
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''วงศ์''' : Megalaimidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Megalaima haemacephala'' (Muller) 1776.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Coppersmith barbet<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Crimson – breasted barbet<br><br> นกตีทองมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Megalaima haemacephala'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ haem,=a,-ato,-o หรือ haima แปลว่าเลือดหรือ สีแดง และ cephal,=a,-o หรือ –kephalos แปลว่าหัว ความหมายคือ “นกที่มีหัวเป็นสีแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ทั่วโลกมีนกตีทอง 5 ชนิดย่อยประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Megalaima haemacephala indica (Latham) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศอินเดีย '''กระจายพันธุ์''' : ตั้งแต่ปากีสถาน จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะสุมาตรา เกาะชวา จนถึงฟิลิปปินส์ '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (16-17 ซม.) จัดเป็นนกโพระดกที่มีขนาดเล็กที่สุด ตัวเต็มวัยลำตัวด้านบนสีเขียว หน้าผากสีแดง กระหม่อมตอนหน้าสีดำ ใบหน้าสีดำมีคิ้วและบริเวณใต้ตาสีเหลือง คอหอยสีเหลืองคอด้านล่างมีแถบสีแดง อกตอนบนสีเหลือง อกตอนล่างและท้องสีขาวอมเหลืองมีลายขีดสีเขียว ตัวไม่เต็มวัยลำตัวด้านบนและหัวสีเขียว บริเวณที่เป็นสีเหลืองซีดกว่าของตัวด้านบนและหัวสีเขียว บริเวณที่เป็นสีเหลืองซีดกว่าของตัวเต็มวัย อกตอนบนสีออกเทา ลายขีดที่อกตอนล่างและท้องสีเทาแกมเขียว '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่ารุ่น ป่าละเมาะ และสวนผลไม้ ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ แต่อาจพบเป็นฝูงใหญ่ตามต้นไม้ที่มีผลสุก และอาจพบอยู่รวมกับนกโพระดกและนกกินผลไม้ชนิดอื่น มันมักเกาะตามยอดไม้หรือกิ่งไม้แห้ง แล้วส่งเสียงร้อง มักร้องตลอดทั้งวันแต่จะร้องบ่อยมากในช่วงเช้าและบ่าย ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มันมักร้องบ่อยกว่าฤดูอื่น มันร้อง “ต๊อง-ต๊อง-ต๊อง” ประมาณ 80 ครั้งต่อนาที่ คล้ายกับการเคาะไม้ให้จังหวะ เสียงของนกตีทองดังกังวานคล้ายกับการตีโลหะเช่นทองคำ มันจึงมีชื่อว่า “นกตีทอง” อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ไทร หว้า ตะขบ มะเม่า ผลของไม้เถา เป็นต้น นอกจากนี้ยังกินแมลงโดยเฉพาะแมลงเม่าที่กำลังบินออกจากรูดิน โดยบินโฉบจับแมลงเม่ากลางอากาศ และยังจิกกินตัวหนอนตามกิ่งไม้และใบไม้ด้วย '''การผสมพันธุ์''' : นกตีทองผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมทำรังตามโพรงบนต้นไม้ที่ยืนต้นตายและค่อยข้างผุบางครั้งบนต้นไม้เนื้ออ่อนที่ยังมีชีวิต ส่วนใหญ่มันจะใช้ปากขุดเจาะโพรงเอง แต่บางครั้งก็ใช้โพรงที่นกหรือสัตว์อื่นทำไว้ หรือโพรงที่เกิดขั้นตามธรรมชาติ โพรงมีขนาดไม่แน่นอน ปกติลึก 25-80 ซม. โดยเฉลี่ยจะลึก 40 ซม. ปากโพรงมักมีขนาดเล็กพอที่ตัวนกลอดเข้าไปได้ แต่ภายในโพรงจะกว้างกว่าหลายเท่า ไม่มีวัสดุรองโพรง '''ไข่''' : มีรูปร่างค่อนข้างยาว สีขาวเป็นมันเล็กน้อย มีขนาดเฉลี่ย 17.5x25.2 มม. รังมีไข่ 2-4 ฟอง พบ 3 ฟองบ่อยที่สุด ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 13–14 วัน ลูกนกแรกเกิดไม่ลืมตา ไม่มีขนปกคลุมร่างกาย และยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันกกและป้อนอาหาร เมื่อลูกนกแข็งแรงและมีขนปกคลุมร่างกายพอประมาณแล้วมันจะเริ่มหัดบิน พ่อแม่จะยังคงป้อนอาหารให้ แม้ว่าลูกนกจิกอาหารกินเองได้ ประมาณ 1 เดือนหลังออกจากไข่ ลูกนกจะแยกจากพ่อแม่ไปหากินตามลำพัง '''สถานภาพ''' : นกตีทองเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค '''กฎหมาย''' : จัดนกตีทองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกตีทอง
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า