ดูโค้ดสำหรับ นกเป็ดผีเล็ก
←
นกเป็ดผีเล็ก
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''วงศ์''' : Podicipedidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Tachybaptus ruficollis'' (Pallas) 1764.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Little grebe<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกเป็ดผี , Dabchick<br><br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Tachybaptus ruficollis'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ruf, -esc, -I หรือ rufus แปลว่าสีแดงหรือสีออกแดง และ coll, -I หรือ collis แปลว่าคอ ความหมายคือ “นกที่บริเวณคอมีสีแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั่วโลกมี 10 ชนิดย่อย ประเทศไทยมี 1 ชนิดย่อยคือ Tachybaptus ruficollis poggei (Reichenow) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่เมือง Chihli ประเทศจีน '''กระจายพันธุ์''' : ในแอฟริกา ยูเรเซีย อินเดีย ไต้หวัน เกาะไหหลำ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาะนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (25 ซม.) ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน รูปร่างทั่วไปคล้ายเป็ด แต่มีขนาดเล็กกว่า ปากเล็กและแหลมไม่แบนเหมือนอย่างเป็ดทั่วไป ปีกสั้นและกลม หางสั้นมากหรือไม่เจริญ ขนตามลำตัวละเอียดอ่อน ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทา ลำตัวด้านล่างสีจางกว่าและค่อนข้างจะออกเป็นสีขาว เวลาบินจะเห็นแถบสีขาวบริเวณปลายปีกชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์บริเวณอกและคอสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีเทา มุมปากสีเหลือง '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยและหากินตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น หนอง คลอง บึง บาง ลำราง ทะเลสาบ เป็นต้น อาจพบได้บริเวณน้ำกร่อยหรือบริเวณที่น้ำเค็มหนุนถึง ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์จะอาศัยอยู่เป็นฝูงที่ไม่ค่อยใหญ่นัก แต่บางฝูงอาจมีนกมากถึง 100 ตัว ในฤดูผสมพันธุ์อยู่เป็นคู่ หรือเป็นครอบครัวประมาณ 5 – 7 ตัว ว่ายและดำน้ำได้ดีมาก เวลาตกใจหรือจวนตัวจะดำน้ำได้นายกว่า 3 นาที แล้วไปโผล่ไกลจากที่เดิม 15 – 20 เมตร แต่ปกติจะบินหนีเรี่ยไปกับผิวน้ำ หรือ สูงกว่าผิวน้ำไม่เกิน 3 เมตร และไปไกลเป็นระยะทางไม่เกิน 50 เมตร บางครั้งพบบินในระดับสูงพอประมาณโดยเฉพาะเมื่อบินหลงฝูง หรือเมื่อบินอพยพไปยังแหล่งน้ำอื่น ไม่เคยพบที่เกาะตามกิ่งไม้ นอกจากยืนอยู่บนบกเป็นบางครั้งเท่านั้น จากการวิเคราะห์อาหารในการะเพาะพบว่า อาหารส่วนใหญ่ได้แก่แมลง คิดเป็นร้อยละ 40 – 70 ของปริมาณอาหาราทั้งหมด ในจำนวนนี้พบแมลงปอเข็มมากที่สุด ประมาณร้อยละ 35 ด้วงปีกแข็งที่กินใบพืชน้ำซึ่งเป็นแมลงในวงศ์ Donaciidae พบรองลงมาประมาณร้อยละ 30 และแมลงอื่นประมาณร้อยละ 5 นอกจากนี้ยังกินกุ้ง ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาด 10 – 15 มม. ประมาณร้อยละ 30 – 60 (พรทิพย์และบุบผา, 2525) และกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ปลาขนาดเล็ก กบ เขียด สัตว์น้ำอื่น เป็นต้น บางครั้งกินพืชจำพวกสาหร่ายด้วยมีกิจกรรมในเวลากลางวัน โดยพบหากินตามบริเวณพื้นน้ำ บริเวณพืชลอยน้ำ บริเวณพืชโผล่พ้นน้ำ และป่าหญ้าซึ่งเป็นบริเวณขอบของแหล่งน้ำ '''การผสมพันธุ์''' : นกเป็ดผีเล็กผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน แต่อาจผันแปรไปบ้างตามปริมาณน้ำฝน โดยจะผสมพันธุ์วางไข่ในช่วงที่มีฝนตกมากที่สุดของปี ทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง ทำรังบริเวณพืชลอยน้ำ พืชที่ขึ้นในน้ำ หรือพืชที่ขึ้นตามขอบแหล่งน้ำ รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างหยาบ ๆ โดยใช่ลำต้นและใบของพืชน้ำจำพวกสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว จอกหูหนู ดีปลีน้ำ และผักตบชวามาวางซ้อนกันจนแน่นทำด้านบนให้เป็นแอ่งคล้ายจานไว้รองรับไข่ รังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอกประมาณ 30 – 35 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางขอบในประมาณ 9 – 12 ซม. ลึกประมาณ 2 - 4 ซม. และอยู่สูงกว่าระดับน้ำ 10 - 15 ซม. รังที่ทำตามพืชลอยน้ำมักยึดติดกับพืชหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในน้ำเพื่อไม่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำและกระแสลม '''ไข่''' : สีขาว บางครั้งมีสีน้ำตาลเคลือบผิว ซึ่งเป็นผลมาจากพืชที่ปกคลุมไข่ มีขนาดเฉลี่ย 25.51 X 35.60 มม. รังมีไข่ 3 – 5 ฟอง โดยจะวางไข่วันละ 1 ฟองจนครบรัง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรกในขณะที่ตัวหนึ่งฟักไข่ อีกตัวหนึ่งจะไปหาอาหารและหาวัสดุมาเสริมรังให้แข็งแรงอยู่เสมอ และยังคอยระวังภัยให้ตัวที่ฟักไข่ด้วย ถ้ามีสิ่งรบกวนหรือมีศัตรูเข้ามาใกล้ ตัวที่อยู่นอกรังจะส่งเสียงร้องเตือนตัวที่กำลังฟักไข่หลักจากที่ได้ยินเสียงเตือนแล้ว ตัวที่กำลังฟักไข่จะรับคาบวัสดุที่อยู่ใกล้กับรังมาปิดทับไข่ไว้ แล้วจะออกจากรังดำน้ำหนีไป เมื่อแน่ใจว่าปลอดภัยจังกลับมาเอาวัสดุที่ปิดไข่ออกแล้วฟักไข่ต่อ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 19 – 24 วัน โดยเฉลี่ยใช้เวลา 21 วัน '''ลูกนก''' : ลูกนกแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ 7.2 กรัม ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 7.5 ซม. ปากสีแดง ขาดำ มีขนอุยสีดำปกคลุมลำตัวโดยมีแถบสีน้ำตาลแดงสลับขาวคาดจากกระหม่อมถึงท้ายทอย 4 แถบ ลูกนกจะเจาะเปลือกไข่ออกมาเองโดยใช้ฟันเจาะเปลือกไข่ หลังจากลูกนกออกจากไข่แล้วพ่อแม่จะช่วยกันคาบเปลือกไข่ไปทิ้งให้ไกลจากรัง เมื่อลูกนกออกจากไข่ได้ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงจะเข็งแรงพอที่จะว่ายน้ำเองได้ หรือเกาะหลังพ่อแม่ออกไปหากินได้ลูกนกจะติดตามพ่อแม่หาอาหารเป็นเวลา 3 – 4 เดือน แล้วจึงไปรวมกับนกครอบครัวอื่นเป็นฝูงใหญ่ อายุ 1 ปีจังโตพอจะผสมพันธุ์ได้ '''สถานภาพ''' : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค แต่จะพบมากทางภาคกลางและภาคใต้ เพราะมีแหล่งน้ำซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินมาก '''กฎหมาย''' : จัดนกเป็ดผีเล็กเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกเป็ดผีเล็ก
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า