ดูโค้ดสำหรับ นกยางโทนใหญ่
←
นกยางโทนใหญ่
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''วงศ์''' : Ardeidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Casmerodius albus'' (Linnaeus) 1758. <br> '''ชื่อสามัญ''' : Great egret <br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Large egret , Common egret , Great white egret , White egret <br> <br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Casmerodius albus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ alb, -I, -id หรือ albus แปลว่าสีขาว ความหมายคือ “นกยางที่มีสีขาว” พบครั้งแรกที่ประเทศสวีเดน ทั่วโลกมี 5 ชนิดย่อยประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Casmerodius albusmodestus (J.E. Gray) ชื่อชนิดย่อยมาจากคำในภาษาละตินคือ modestus หรือ modest ซึ่งแปลว่าทุ่งราบ ความหมายคือ “นกยางสีขาวที่พบตามทุ่งราบ” พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย '''กระจายพันธุ์''' : เกือบทั่วโลก ในทวีปเอเชียพบในอินเดีย พม่า ไทย จีน ไต้หวัน เกาะไหหลำ หมู่เกาะอันดามัน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดใหญ่ (87 – 90 ซม.) จัดเป็นนกยางสีขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ปากยาวตรงลำคอยาวมาก ขณะหันคอไปทางด้านข้างหรือด้านหลังเพื่อหาอาหาร บริเวณตรงกลางคอมักขมวดเป็นปม ปีกยาวประมาณ 33.7 ซม. ปลายปีกมน ขาค่อนข้างยาวนิ้วยาว ขนปกคลุมลำตัวทั้งหมดเป็นสีขาว ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ปากสีเหลือง ปลายปากสีเทาเล็กน้อย ผิวหนังบริเวณใบหน้ามีสีเหลืองแกมเขียว แข้งและนิ้วสีดำ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากสีดำ บางตัวบริเวณโคนเป็นสีเหลือง ผิวหนังบริเวณใบหน้าเป็นสีน้ำเงินหรือน้ำแกมเขียว แข้งอาจเปลี่ยนเป็นสีแดง บางตัวเป็นสีเขียวมีขนละเอียดสีขาวแตกเป็นฝอยตั้งแต่บริเวณกลางหนังจนถึงตะโพก ขนนี้จะหลุดร่วงไปเมื่อสิ้นสุดฤดูผสมพันธุ์ และจะไม่ปรากฏในนกตัวไม่เต็มวัยไม่ว่าจะเป็นฤดูใดก็ตาม '''อุปนิสัยและอาหาร''' : หากินในเวลากลางวันตามแหล่งน้ำทั่วไป เช่น บึง หนอง ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ เป็นต้น และบริเวณชายเลน พบอยู่โดดเดี่ยว จึงได้ชื่อว่า “นกยางโทน” ซึ่งหมายถึงตัวเดียว แต่ก็พบมันหากินรวมกันเป็นฝูงบ่อยครั้งมาก มันสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ดี และบินได้เร็วพอประมาณ ขณะบินคอจะพับเป็นรูปตัวเอส ขาเหยียดตรงพ้นปลายหาง '''การผสมพันธุ์''' : นกยางโทนใหญ่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทำรังเป็นกลุ่มตามต้นไม้ และอาจอยู่รวมกับนกหลายชนิด เช่น นกกาน้ำเล็ก นกยางกรอกพันธุ์ชวา นกยางควาย นกยางเปีย นกแขวก นกกระสาแดง เป็นต้น รังเป็นแบบง่าย ๆ ทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุและสร้างรังโดยนำกิ่งไม้หรือกิ่งไผ่มาซ้อนกันหลายชั้น แล้วทำแอ่งตรงกลาง อาจมีใบหญ้าหรือใบไม้สดวางในแอ่งเพื่อรองรับไข่ ในช่วงแรกรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 50 – 60 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางขอบใน 30 – 40 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 15 – 20 ซม. ต่อมารังอาจหนาขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมันจะเสริมรังเมื่อวัสดุเก่าผุพังลงหรือเมื่อมีจำนวนไข่เพิ่มขึ้น '''ไข่''' : เป็นรูปรี สีเขียวอ่อนเกือบเป็นสีขาว มีผงสีขาวคล้ายผงชอล์กปกคลุมเล็กน้อย มีขนาดเฉลี่ย 42.4 x 60.3 มม. รังมีไข่ 3 – 5 ฟอง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ตั้งแต่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ 25 – 28 วัน ลูกนกจะเจาะเปลือกไข่ออกมาเองโดยใช้ฟันเจาะเปลือกไข่ ลูกนกแรกเกิดมีรูปร่างเทอะทะ หัวและท้องใหญ่ ลำตัวด้านบนมีขนอุยเล็กน้อย ผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขนอุยเป็นสีน้ำตาล เมื่อลูกนกอายุได้ 2 – 3 สัปดาห์ จะเริ่มมีขนขึ้นตามลำตัว ยกเว้นลำตัวด้านล่าง อายุ 5 – 6 สัปดาห์มีขนเต็มตัว สีสันคล้ายตัวเต็มวัย ปากเป็นสีเหลืองซีด ขาเป็นสีเทา อายุ 7 – 8 สัปดาห์ลูกนกจะบินได้แข็งแรง บางตัวสามารถแยกจากพ่อแม่ไปหากินเองได้ '''ลูกนก''' : ลูกนกแรกเกิดยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องคอยช่วยเหลือด้วยการกก ป้องกันอันตราย และหาอาหารมาป้อน พ่อแม่จะป้อนอาหารด้วยการสำรอกอาหารที่ย่อยบางส่วนใส่ปากลูกนกซึ่งอ้าปากรอรับอาหารเหมือนจะงับปากพ่อแม่ เมื่อลูกนกโตพอประมาณ พ่อแม่จะสำรอกอาหารไว้ที่พื้นรังให้ลูกนกจิกกันเอง พ่อแม่จะคอยผลัดเปลี่ยนกันไปหาอาหารมาป้อนลูกนกโดยขณะที่ตัวใดตัวหนึ่งไปหาอาหาร อีกตัวหนึ่งจะอยู่ในรังกกลูกและคอยป้องกันอันตรายจากศัตรู ซึ่งอาจเป็นนกหรือสัตว์อื่น เช่น อีกา เหยี่ยว ตะกวด เป็นต้น '''สถานภาพ''' : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค และอาจมีบางส่วนเป็นนกอพยพมาในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งในช่วงนี้จะพบได้บ่อยและปริมาณมากขึ้น '''กฎหมาย''' : จัดนกยางโทนใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกยางโทนใหญ่
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า