ดูโค้ดสำหรับ นกกระสานวล
←
นกกระสานวล
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''วงศ์''' : Ardeidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Ardea cinerea'' (Linnaeus),1758.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Grey heron<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : -<br><br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Ardea cinerea'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ciner , -ar, -e, -I หรือ cinis แปลว่าสีเทา ความหมายคือ “นกยางที่มีสีเทา” พบครั้งแรกที่ประเทศสวีเดน ทั้งชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์หมายถึงนกยาง แต่ชื่อภาษาไทยของนกทั้งสกุลกลับเรียกว่า “นกกระสา” ซึ่งน่าจะเรียก “นกยาง” มากกว่า ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Ardea cinerea rectiostris Gould ชื่อชนิดย่อมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ rect, -I, -o หรือ rectus แปลว่าตรง และ rostr, =um หรือ rostris แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกยางสีเทาที่มีปากตรง” พบครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย '''กระจายพันธุ์''' : ในแอฟริกา ยูเรเซีย อินเดีย จีน ไต้หวัน เกาะไหหลำ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดใหญ่มาก (96 – 102 ซม.) ปากยาวตรง ปลายปากแหลม หัวค่อนข้างเล็ก คอยาวมาก ปีกยาว ปลายปีกมน หางค่อนข้างสั้น ขายาวมาก นิ้วค่อนข้างยาว ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน ตัวเต็มวัยหัวและคอสีออกขาว มีขนยาวสีดำคาดจากบริเวณหัวตาไปยังท้ายทอยและงอกยาวออกไปคล้ายเป็นหางเปียสองเส้น ขนปลายปีกสีดำ ขนคลุมขนปีกและลำตัวด้านบนสีเทา ลำตัวด้านล่างสีขาวคอด้านข้างจนถึงอกมีลายขีดสีเข้ม ตัวไม่เต็มวัยมีลักษณะคล้ายกับตัวเต็มวัย แต่สีโดยทั่วไปจางกว่า และไม่มีขนเปียสีดำตรงท้ายทอย '''อุปนิสัยและอาหาร''' : มีกิจกรรมในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำ บ่อยครั้งก็หากินในเวลากลางวันด้วย นอกจากจะสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ดีแล้ว มันยังบินได้ไกลและเร็วพอประมาณ ขณะบินคอจะพับเป็นรูปตัวเอส ขาเหยียดตรงพ้นปลายหาง และกระพือปีกช้า ๆ นกกระสานวลกินสัตว์น้ำโดยยืนต้องบนพืชลอยน้ำหรือเดินตามแหล่งน้ำที่ไม่ลักมากนัก เมื่อพบเหยื่อจะใช้ปากจิกและกลืนทันที บางครั้งมันจะเดินย่องไปตามพื้นหญ้าซึ่งไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเพื่อจิกกินแมลงตัวหนอน และสัตว์อื่น '''การผสมพันธุ์''' : จากการศึกษานกกระสานวลในกรงเลี้ยงพบว่า มันผสมพันธุ์ในฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ทำรังเป็นกลุ่มตามต้นไม้และอาจอยู่รวมกับนกอื่น เช่น นกกระสาแดง นกยางโทนใหญ่ เป็นต้น รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างหยาบ ๆ โดยทั้งสองเพศจะช่วยกันหากิ่งไม้ทั้งกิ่งแห้งและกิ่งสดมาวางซ้อนกันตามกิ่งหรือง่ามของต้นไม้ แล้วทำแอ่งตรงกลางเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 50 – 60 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 5 – 10 ซม. และอยู่สูงจากพื้นดินไม่ต่ำกว่า 4 – 5 เมตร '''ไข่''' : ไข่เป็นรูปรียาว สีเขียวแกมน้ำเงิน ไม่มีจุด ขีดหรือลาย แต่สีจะซีดลงเมื่อถูกฟักนานวันเข้า มีขนาดเฉลี่ย 42.0 x 58.0 มม. รังมีไข่ 3 – 4 ฟอง จะพบ 3 ฟองบ่อยที่สุด ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 27 – 29 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมลำตัวด้านบนเล็กน้อยและยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันดูแลโดยกกลูกไว้ใต้ปีกหรือใต้ท้องเพื่อให้ความอบอุ่น และหาอาหารมาป้อนโดยการสำรอกอาหารใส่ปากลูกนกโดยตรง พ่อแม่จะเลี้ยงดูลูกนกประมาณ 40 – 50 วัน ลูกนกนะแข็งแรงและบินได้ จากนั้นจะทิ้งรังไป '''สถานภาพ''' : ในอดีตเป็นนกประจำถิ่น ปัจจุบันเป็นนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักทั่วทุกภาค แต่มักพบตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่เท่านั้น เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หนองหาน จังหวัดสกลนคร และอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นต้น '''กฎหมาย''' : จัดนกกระสานวลเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกกระสานวล
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า