ดูโค้ดสำหรับ นกตบยุงหางยาว
←
นกตบยุงหางยาว
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''วงศ์''' : Caprimulgidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Caprimulgus macrurus'' (Horsfield), 1821.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Large-tailed nightjar<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Long-tailed nightjar<br><br> นกตบยุงหางยาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Caprimulgus macrurus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ macr, -o, หรือ makros แปลว่าใหญ่หรือยาว และ ur, =a, -o หรือ oura แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางยาว” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียทั่วโลกมีนกตบยุงหางยาว 18 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Caprimulgus macrurus bimaculatus Peale ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ bi แปลว่าสอง =macula, -t หรือ maculare แปลว่าจุด ความหมายคือ “มีลายจุด 2 แบบหรือ 2 แห่ง” พบครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ และ Caprimulgus macrurus ambiguous Hartert ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ ambigere แปลว่าสงสัย ซึ่งอาจหมายถึงการจำแนกที่ยังไม่แน่นอน นักปักษีวิทยาบางท่านถือว่าทั้งสองชนิดย่อยเป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกัน '''กระจายพันธุ์''' : ในปากีสถาน อินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และออสเตรเลียตอนเหนือ '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (30 ซม.) ตัวเต็มวัยจะมีหางยาวไม่น้อยกว่า 14.6 ซม. ตัวผู้สีสันโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลแกมเทา บริเวณกลางขนปลายปีกมีลายแถบสีขาวเด่นชัด 4 แถบ บริเวณปลายหางมีแถบใหญ่สีขาว 2 แถบด้านนอก รอบคอด้านบนมีลายสีน้ำตาลแดง คอหอยสีขาว ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเนื้อ มีลายแถบเล็กสีเข้ม ตัวเมียมีลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่ลายแถบที่ขนปลายปีกมีขนาดเล็กกว่าและเป็นสีเนื้อและแคบกว่าแถบสีขาวของตัวผู้ ตัวผู้ไม่เต็มวัยมีลักษณะคล้ายตัวเมีย แต่สีจางออกสีเนื้อมากกว่า แถบที่ขนปลายหางด้านนอกไม่เด่นชัดและเป็นสีน้ำตาลแดง '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่ารุ่น และทุ่งโล่ง ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่มีกิจกรรมและหากินช่วงเย็นค่ำและกลางคืน ส่วนในเวลากลางวันมันมักหมอบนอนหลับตามพื้นดินใต้ร่มเงาต้นไม้หรือพุ่มหญ้าซึ่งมีใบไม้หรือใบหญ้าที่ร่วงหล่นค่อนข้างหนาแน่น เนื่องจากมันมีสีสันกลมกลืนกับสีใบไม้ใบหญ้าและพื้นดินจึงมักมองไม่ค่อยเห็นตัว ยกเว้นเมื่อบังเอิญเดินเข้าไปใกล้แล้วมันบินหนี ช่วงเย็นค่ำมักเห็นมันบินร่อนเหนือระดับยอดไม้ในลักษณะคล้ายพวกนกนางแอ่น นกตบยุงหางยาวร้อง “กรุ้ง” ติดต่อกันประมาณ 5 พยางค์ ใน 4 วินาที ระยะการร้องแต่ละครั้งมักไม่สม่ำเสมอ มันร้องทั้งขณะที่หมอบตามพื้นดินและเกาะกิ่งไม้ อาหาร ได้แก่ ผีเสื้อกลางคืน ด้วงปีกแข็ง และแมลงกลางคืนต่าง ๆ มันหาอาหารโดยหมอบตามพื้นดินหรือเกาะกิ่งไม้แห้ง เมื่อแมลงบินผ่านมาก็บินโฉบจับด้วยปาก มักหากินบริเวณสองข้างทางถนนที่ตัดผ่านป่า ทุ่งหญ้า หรือแหล่งที่อยู่อาศัยของคน โดยเฉพาะย่างยิ่งบริเวณที่มีแสงไฟซึ่งมีแมลงมาชุมนุมกัน '''การผสมพันธุ์''' : นกตบยุงหางยาวผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมทำรังตามพื้นดินโดยไม่ใช้วัสดุสร้างร้าง มันเพียงแต่ขุดดินให้เป็นแอ่งเล็กน้อย แล้ววางไข่ในแอ่ง รังมีไข่ 2 ฟอง '''ไข่''' : สีครีมแกมเหลืองจนถึงสีเนื้อแกมชมพู มีลายจุดหรือลายดอกดวงสีเทาหรือเทาแกมแดง มีขนาดเฉลี่ย 22.6x31.3 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา มีขนปกคลุมลำตัวบางส่วน และยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ลูกนกพัฒนาขนปกคลุมลำตัวและเจริญเติบโตเร็วมาก หลังออกจากไข่ประมาณ 2 สัปดาห์หรือนานกว่าเล็กน้อยมันก็สามารถบินได้ และหลังจากนั้นไม่นานมันจะแยกจากพ่อแม่ไปหากินตามลำพัง '''สถานภาพ''' : นกตบยุงหางยาวเป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค '''กฎหมาย''' : จัดนกตบยุงหางยาวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกตบยุงหางยาว
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า