ดูโค้ดสำหรับ นกตะขาบทุ่ง
←
นกตะขาบทุ่ง
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''วงศ์''' : Coraciidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Coracias benghalensis'' (Linnaeus) 1758.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Indian roller<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Black-billed roller, Northern roller, Blue jay<br><br> นกตะขาบทุ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Coracias benghalensis'' ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือรัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีนกตะขาบทุ่ง 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Coracias benghalensis affinis McClelland ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ affinis หรือ affini แปลว่าสัมพันธุ์หรือเกี่ยวข้องกัน ความหมายคือ “มีลักษณะไม่แตกต่างจากชนิดย่อยอื่น” พบครั้งแรกที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย '''กระจายพันธุ์''' : ตั้งแต่ตะวันออกกลางจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (32-33 ซม.) ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกันขณะเกาะจะเห็นลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาล แต่เมื่อกางปีกหรือบินจะเห็นปีกมีแถบสีน้ำเงินสด บริเวณหัวและหางเป็นสีฟ้าอมเขียว ปีกสีน้ำเงิน ลำตัวสีน้ำตาลบริเวณอกมีลายขีดเล็ก ๆ สีเขียวอมฟ้ากระจายห่าง ๆ '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ตามทุ่งนา ไร่ ป่าละเมาะ และป่าโปร่ง เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณเป็นต้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีกิจกรรมและหากินในเวลากลางวัน พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบเป็นฝูงนอกจากเป็นครอบครัว มักพบเกาะสายไฟฟ้าข้างถนนและตามกิ่งไม้แห้งหรือยอดไม้ บางครั้งพบกระโดดตามพื้นดิน บินได้ดี นกตะขาบทุ่งร้องเสียงดังกังวาน “ต้า-ต้า” ซ้ำกันหลายครั้ง แต่ละครั้งทิ้งช่วงห่างกันเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นการร้องเพื่อประกาศอาณาเขตและเกี้ยวพาราสี นกตะขาบทุ่งกินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก โดยเกาะตามสายไฟฟ้าหรือกิ่งไม้ ตาคอยจ้องหาเหยื่อตามพื้นดิน เมื่อพบเหยื่อมันจะบินลงมาโฉบจับด้วยปากแล้วคาบขึ้นไปกินบริเวณที่เกาะเดิม ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะกลืนได้ทั้งตัว เช่น ปู กบ หนู มันจะใช้กรงเล็บช่วยจับ แล้วคาบไปฟาดกับที่เกาะ หรือฟาดกับพื้นจนเหยื่อตายก่อนฉีกกินเป็นชิ้น ๆ จากนั้นมันจะบินไปเกาะที่เดิมเพื่อคอยจ้องหาเหยื่อต่อไป เกรียงไกร (2527) วิเคราะห์อาหารในกระเพาะพักของนกตะขาบทุ่ง พบว่าส่วนใหญ่ได้แก่ตัวอ่อนของเหลือบประมาณร้อยละ 29.58 ของปริมาณอาหารทั้งหมดรองลงมาได้แก่ ตั๊กแตนหนวดสั้น ประมาณร้อยละ 25.35 นอกจากนี้เป็นแมลงอีกหลายชนิด เช่น จิ้งหรีด แมลงกระชอน มวนแดง แมลงเหนี่ยง ด้วงดิน ด้วงดีด ด้วงงวง ผีเสื้อเจาะลำต้น และสัตว์อื่น ๆ เช่น คางคกบ้าน ตะขาบ ปู แมงมุม เป็นต้น '''การผสมพันธุ์''' : นกตะขาบทุ่งผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ตัวผู้เกี้ยวพาราสีตัวเมียโดยบินไปเกาะข้าง ๆ แล้วส่งเสียงร้องจากนั้นจะบินขึ้นไปในอากาศเหนือที่เกาะข้างตัวเมียอีก หากตัวเมียไม่สนใจตัวเมียจะบินหนีไป แต่หากตัวเมียสนใจตัวเมียจะเกาะอยู่กับที่ ตัวผู้อาจทำเช่นเดิมซ้ำอีก 1-2 ครั้ง จากนั้นจะผสมพันธุ์กัน ทั้งสองเพศช่วยกันหาสถานที่ทำรัง ซึ่งมักเป็นโพรงไม้ที่เกิดตามธรรมชาติหรือที่สัตว์อื่นทำไว้ บางครั้งทำรังบนตอไม้หรือต้นไม้ยอดด้วน เช่น ตอมะพร้าวที่ถูกด้วงเจาะ เป็นต้นปกตินกตะขาบทุ่งจะเลือกโพรงที่อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 4-5 เมตร โพรงมีขนาดไม่แน่นอน จากนั้นพวกมันจะช่วยกันหาวัสดุ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า มารองรับไข่ '''ไข่''' : ของนกตะขาบทุ่งมีรูปร่างเกือบกลม สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 27.6x33.5 มม. รังมีไข่ 4 ฟอง หายากที่มี 5 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 17-19 วัน แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลา 18 วัน ลูกนกแรกเกิดมีความยาวประมาณ 8 ซม. ยังไม่ลืมตา มีรูปร่างเทอะทะ ตาโต ท้องป่อง และไม่มีขนปกคลุมลำตัว เมื่ออายุ 3-4 วันจะมีตุ่มขนขึ้นตามผิวหนังทำให้ผิวดูเป็นสีดำมากขึ้น ในช่วงแรกนี้ลูกนกยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันกกและอาหารมาป้อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวหนอนและแมลง ลูกนกอายุ 3-4 สัปดาห์จะแข็งแรงและบินได้ จากนั้นทั้งหมดจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง ลูกนกอายุ 1 ปีจะเป็นตัวเต็มวัยและสามารถผสมพันธุ์ได้ '''สถานภาพ''' : นกตะขาบทุ่งเป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลางทั่วทุกภาค '''กฎหมาย''' :จัดนกตะขาบทุ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกตะขาบทุ่ง
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า