ดูโค้ดสำหรับ นกกระสาแดง
←
นกกระสาแดง
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
'''สกุล''' : Ardea Linnaeus<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Ardea purpurea'' (Linnaeus),1766<br> '''ชื่อสามัญ''' : Purple Heron<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกระสาแดง<br><br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Ardea purpurea'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ purpur, -a แปลว่าสีแดงเข้ม (รากศัพท์กรีกคือ porphureos ก็แปลว่าสีแดงหรือสีม่วง) ความหมายคือ “นกยางที่มีสีแดงเข้ม” พบครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศส ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Ardea purpurea manilensis Meyen ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ '''กระจายพันธุ์''' : ในแอฟริกา ยูเรเซีย อินเดีย หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ จีน ไต้หวัน พม่า ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดใหญ่มาก (97.ซม) ปากเรียวยาว ปลายปากแหลม หัวค่อนข้างเล็ก คอยาวมาก ปีกยาว ปลายปีกมน ขายาวมาก หาสั้น ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน ตัวเต็มวัยกระหม่อมและท้ายทอยสีดำ มีขนสีดำตั้งแต่กระหม่อมไปถึงท้ายทอยและงอกยาวออกไปเป็นหางเปียสองเส้นคอสีน้ำตาลแดง คอด้านข้างมีลายสีน้ำตาลแดงแซมทั่วไปอกสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลเข้มออกดำ ตัวไม่เต็มวัยลำตัวสีน้ำตาลอ่อนออกสีเทา ไม่มีเปีย '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยและหากินตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง บาง หนอง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ เป็นต้น มีกิจกรรมส่วนใหญ่ในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำแต่บ่อยครั้งก็พบมันหากินในเวลากลางวันด้วย ปกติอยู่โดดเดี่ยว แต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์อาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง สามารถเกาะกิ่งไม้ได้ดี บินได้แข็งแรงและในระยาทางไกล ขณะบินคอจะพับเป็นรูปตัวเอสขาเหยียดตรงพันปลายหาง อาหารได้แก่ ปลา กุ้ง ปู กบ และเขียด หาอาหารโดยเดินตามชายน้ำซึ่งระดับน้ำไม่ลึกมากนัก ตาคอยจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบจะใช้ปากงับแล้วกลืนกินหากเหยื่อมีขนาดใหญ่ อาจใช้ปากแทงตัวเหยื่อแล้วใช้ตีนช่วยดันเหยื่อจากปาก จากนั้นจึงค่อยจิกกิน บางครั้งมันเดินย่องไปตามพื้นหญ้าที่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเพื่อจิกแมลงตัวหนอนและสัตว์อื่น บ่อยครั้งพบมันยืนนิ่งตามพืชลอยน้ำ เช่น ผักตบชวา จอกหูหนู ดีปลีน้ำ เพื่อจ้องจับเหยื่อที่เข้ามาใกล้ '''การผสมพันธุ์''' : นกกระสาแดงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน แต่บางท้องที่พบว่ามันทำรังเกือบตลอดทั้งปี เช่น ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง มีการทำรังวางไข่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน (ศุภชัย 2523) มักทำรังรวมกันเป็นกลุ่มตามต้นไม้ขนาดใหญ่และอาจอยู่รวมกับนกอื่น เช่น นกยางควาย นกยางเปีย นกยางโทนใหญ่ เป็นต้น รังเป็นแบบง่าย ๆ ใช้กิ่งไม้ทั้งกิ่งสดและกิ่งแห้งวางซ้อนกันตามง่ามหรือกิ่งของต้นไม้ที่ขึ้นใกล้แหล่งน้ำ บางครั้งก็ใช้รังเดิมของนกตัวอื่นที่ทิ้งรังไปแล้วโดยหากิ่งไม้มาเสริมรังให้แข็งแรงขึ้นปกติรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 50 – 55 ซม. แอ่งรองรับไข่ลึก 5 – 10 ซม. แต่ละรังอยู่ห่างกัน 2 – 7 เมตร และสูงจากพื้นดินหรือระดับน้ำ 4 – 5 เมตร ทั้งสองเพศช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง '''ไข่''' : ไข่เป็นรูปรียาว สีเขียวอ่อนไม่มีจุด ขีด หรือลายมีขนาดเฉลี่ย 43.0 X 58.0 มม. รังมีไข่ 3 – 4 ฟอง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ โดยขณะที่ตัวหนึ่งฟักไข่ อีกตัวหนึ่งจะไปหาอาหาร ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 27 – 29 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมลำตัวบางส่วน โดยเฉพาะลำตัวด้านบน และยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อ แม่ต้องช่วยกันกกลูกนกไว้ใต้ปีกหรือใต้ท้อง และหาอาหารมาป้อนโดยการสำรอกอาหารใส่ปากลูกนกซึ่งอ้าปากรอรับอยู่ และแบ่งเฉลี่ยให้เท่ากันทุกตัว เมื่อลูกนกเติบโตพอประมาณแล้ว พ่อแม่จะสำรอกอาหารซึ่งบางครั้งเป็นปลาทั้งตัวไว้ที่พื้นรังให้ลูกนกจิกกินเองประมาณ 40 – 50 วันลูกนกจะแข็งแรงและบินได้จากนั้นนะทิ้งรังไป '''สถานภาพ''' : เป็นนกประถิ่น พบไม่บ่อยและประมาณไม่มากนักทั่วทุกภาค ในปัจจุบันนกกระสาแดงที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นนกที่อพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ '''กฎหมาย''' : จัดนกกระสาแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ----
กลับไป
นกกระสาแดง
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า