ดูโค้ดสำหรับ เหยี่ยวแดง
←
เหยี่ยวแดง
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:Haliastur_in_dus01.jpg|right]] '''วงศ์''' : Accipitridae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Haliastur in dus'' (Boddaert) 1783.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Brahminy kite<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Red-backed sea eagle<br><br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Haliastur indus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ indus แปลว่าแห่งประเทศอินเดีย ความหมายคือ “เหยี่ยวที่อยู่ในหรือใกล้ทะเล พบที่ประเทศอินเดีย” พบครั้งแรกที่เมือง Pondicherry ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Haliastur indus indus (Boddaert) ชื่อชนิดย่อยมีที่มาและความหมาย เช่นเดียวกับชื่อชนิด และ Haliastur indus intermedius Gurney ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ inter แปลว่าระหว่าง และ medi, -a, -o แปลว่ากึ่งกลาง ความหมายคือ “นกที่มีขนาดกลางหรือมีลักษณะระหว่างนกสองชนิด” พบครั้งแรกที่เกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย '''กระจายพันธุ์''' : ในอินเดีย จีนตอนใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์ '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดกลาง (46 – 47 ซม.) ปากแหลมคม ปลายปากเป็นปากขอ หัวค่อนข้างใหญ่ คอสั้น ปีกกว้าง ปลายปีกมน ปีกแต่ละข้างยาวประมาณ 35.5-39.9 ซม. หางกว้าง ปลายหางค่อนข้างมน ขาและนิ้วแข็งแรง ปลายนิ้วเป็นเล็บยาวและแหลมคม ทั้งสองเพศมีลักษณะเหมือนกัน ตัวเต็มวัยลำตัวสีน้ำตาลแดง ตัดกับสีของหัว คอ และอกที่เป็นสีขาวชัดเจน ส่วนที่เป็นสีขาวมีลายขีดสีน้ำตาลแกมดำกระจายทั่วไป ขณะบินจะเห็นหางแผ่กว้างปลายหางค่อนข้างมนชัดเจน ตัวไม่เต็มวัยสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีน้ำตาลเข้มทั่วตัว '''อุปนิสัยและอาหาร''' : มีกิจกรรมและหากินในเวลากลางวันตามทุ่งโล่งใกล้แหล่งน้ำ โดยเฉพาะตามแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ จะพบบ่อยมากบริเวณปากแม่น้ำ ชายทะเล ท่าเรือ และตามป่าชายเลน พบอยู่โดดเดี่ยวเป็นคู่ หรือเป็นฝูง มันชอบเกาะตามกิ่งไม้หรือยอดไม้แห้งในระดับสูง ขณะเกาะลำตัวตั้งเกือบตรง บินได้ดีมักบินร่อนเป็นวงกลม หรือร่อนไปตามแม่น้ำ หรือชายฝั่งซึ่งปกติไม่สูงจากระดับน้ำมากนัก เหยี่ยวแดงกินปลาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังกินสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น กบ เขียด กิ้งก่า งู ค้างคาว เป็นต้น มันจะล่าเหยื่อทั้งที่มีชีวิตอยู่และกินซากของสัตว์เหล่านี้ หาอาหารโดยบินหรือร่อนเป็นวงกลมตามลำน้ำ ลำคลอง ชายทะเล หรือชายเลน เมื่อพบจะบินลงมาโฉบด้วยกรงเล็บ ซึ่งบางครั้งอาจจมลงไปน้ำทั้งตัว เมื่อได้เหยื่อแล้ว มันจะน้ำขึ้นไปบนกิ่งไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ จิกและฉีกกินเนื้อโดยใช้กรงเล็บช่วยจับเหยื่อบางครั้งพบมันไล่โฉบนกที่กำลังบินอยู่กลางอากาศ หรือค้างคาวที่บินออกจากถ้ำหรือแหล่งที่อยู่อาศัยช่วงพลบค่ำสำหรับซากสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาตามสะพานปลาหรือท่าเรือขนถ่ายปลา มันจะเกาะตามกิ่งไม้เมื่อเห็นว่าปลอดคนจึงบินลงมากินซากปลา โดยใช้ปากจิกและฉีกกิน หรืออาจใช้กรงเล็บจับแล้วน้ำขึ้นไปกินบนกิ่งไม้ '''การผสมพันธุ์''' : เหยี่ยวแดงผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนทำรังตามกิ่งไม้ที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ปกติรังอยู่ในระดับที่สูงจากพื้นดินพอสมควร ไม่ต่ำกว่า 5 เมตร ทั้งสองเพศช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง รังเป็นแบบง่าย ๆ โดยนำก่องไม้มาวางซ้อนกันตามกิ่งหรือง่ามไม้ ทำแอ่งตรงกลางเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 40 – 50 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 10 – 15 ซม. '''ไข่''' : ไข่มีขนาดเฉลี่ย 36.0x50.2 มม. สีขาว ไม่มีจุดหรือลายใด ๆ แต่อาจมีรอยเปื้อนจาง ๆ สีแดงหรือสีน้ำตาลในบางฟอง รังมีไข่ 2-4 ฟอง ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 29-31 วัน เมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ลูกนกมีขนอุยสีขาวปกคลุมทั่วตัว ลืมตา แต่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยเฉพาะการหาอาหาร พ่อแม่ต้องคอยช่วยกันหาอาหารมาป้อน ลูกนกออกจากไข่ไม่พร้อมกันตัวที่ออกจากไข่ก่อนมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวอื่น ๆ เพาะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีและอาหารเพียงพอ เมื่อจำนวนลูกนกเพิ่มขึ้น อาหารที่พ่อแม่นำมาต้องเฉลี่ยให้ตัวอื่น ๆ จึงอาจไม่เพียงพอ อีกทั้งตัวที่มีขนาดเล็กกว่ามาสามารถแย่งอาหารได้จากตัวที่โตกว่า ลูกนกตัวสุดท้าย คือตัวที่ 3 หรือ 4 มักตายหลังจากออกจากไข่ได้ไม่กี่วัน ดังนั้นในรังหนึ่งลูกนกจะรอดเป็นตัวเต็มวัยเพียง 1 – 2 ตัวเท่านั้น อาหารของลูกนกส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลาและสัตว์ที่เป็นอาหารของพ่อแม่ ในช่วงแรกพ่อแม่จะใช้ปากฉีกอาหารออกเป็นชิ้น ๆ เฉลี่ยให้ลูกเท่า ๆ กัน และพยายามกันลูกตัวที่โตกว่าไม่ให้ไปแย่งอาหารจากตัวที่เล็กกว่า แต่เมื่อลูก ๆ โตพอประมาณแล้ว พ่อแม่จะนำอาหารมาทิ้งไว้ทั้งตัว ลูก ๆ ต้องแย่งกันฉีกและกินอาหารเอง ตัวที่เล็กกว่ามักแย่งอาหารไม่ทันตัวที่โตกว่าพ่อแม่จะเลี้ยงดูลูก ๆ จนกระทั่งแข็งแรง บินได้ดีและล่าเหยื่อเองได้ จากนั้นก็จะทิ้งรังไป ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 – 45 วันหลังออกจากไข่ '''สถานภาพ''' : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย indus พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ชนิดย่อย intermedius พบเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก '''กฎหมาย''' : จัดเหยี่ยวแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ---- [[ไฟล์:Haliastur_in_dus02.jpg]] [[ไฟล์:Haliastur_in_dus03.jpg]] ---- '''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> https://c2.staticflickr.com/2/1399/534737271_a6018a9ca4.jpg<br> https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/2f/Haliastur_indus_-Karratha,_Pilbara,_Western_Australia,_Australia-8.jpg/1260px-Haliastur_indus_-Karratha,_Pilbara,_Western_Australia,_Australia-8.jpg<br> https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/bd/Haliastur_indus_-Karratha,_Pilbara,_Western_Australia,_Australia_-flying-8_(15).jpg<br>
กลับไป
เหยี่ยวแดง
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกระจอกบ้าน
นกกระจิบหญ้าท้องเหลือง
นกกระติ๊ดขี้หมู
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระติ๊ดสีอิฐ
นกกระสาแดง
นกกระสานวล
นกกวัก
นกกระเต็นแดง
นกกระเต็นน้อยธรรมดา
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกะปูดเล็ก
นกกะปูดใหญ่
นกกางเขนบ้าน
นกกาน้ำเล็ก
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาแวน
นกกาเหว่า
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินเปี้ยว
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกเขาใหญ่
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาหัวเขียว
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกตบยุงหางยาว
นกตะขาบทุ่ง
นกตีทอง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดสวน
นกปรอดสีไพลใหญ่
นกปรอดหน้านวล
นกปลีกล้วยเล็ก
นกเป็ดผีเล็ก
นกเปล้าคอสีม่วง
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกยางโทนใหญ่
นกยางเปีย
นกยางไฟธรรมดา
นกยางไฟหัวดำ
นกสีชมพูสวน
นกหนูแดง
นกหัวขวานเขียวคอเขียว
นกหัวขวานแดงลาย
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง
นกหัวขวานสีตาล
นกอัญชันอกเทา
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงควาย
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้
นกเอี้ยงสาริกา
นกเอี้ยงหงอน
นกแอ่นกินรัง
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เป็ดแดง
เหยี่ยวแดง
อีกา
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า