ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกหัวขวานสีตาล"
(สร้างหน้าว่าง) |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
+ | '''วงศ์''' : Celeus Boie<br> | ||
+ | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Celeus brachyurus'' (Vieillot) 1818.<br> | ||
+ | '''ชื่อสามัญ''' : Rufous Woodpecker<br> | ||
+ | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : -<br><br> | ||
+ | นกหัวขวานสีตาลมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Celeus brachyurus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ brachy หรือ brakhus แปลว่าสั้นและ ur,=a,-o หรือ –ouros แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางสั้น” พลครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย | ||
+ | ทั่วโลกมีนกหัวขวานสีตาล 12 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อยคือ | ||
+ | #Celeus brachyurus phaioceps Blyth ชื่อชนิดย่อยมาจากคำว่า phae,-o หรือ phaios เป็นรากศัพท์ภาษากรีกแปลว่าสีเทา และ =ceps เป็นรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่ แปลว่าหัว ความหมายคือ “นกที่มีหัวสีเทา” พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย | ||
+ | #Celeus brachyurus williamsoni Boden Kloss ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นักปักษีวิทยาบางท่านก็จัดชนิดย่อย williamsoni เป็นชื่อพ้องของชนิดย่อย phaioceps แต่บางท่านก็ถือเป็นคนละชนิดย่อยกัน | ||
+ | #Celeus brachyurus squamigularis (Sundevall) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ squam, =a, -at, -I, -o แปลว่าเกล็ด และ gularis (gul, =a) แปลว่าคอหอย ความหมายคือ “บริเวณคอหอยมีลายคล้ายเกล็ด” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย | ||
+ | |||
+ | '''กระจายพันธุ์''' : ในเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่ | ||
+ | |||
+ | '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (25 ซม.) ปากสีดำ หัวสีน้ำตาลเข้มแกมเขียว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดงเข้มมีลายเล็ก ๆ สีดำเรียงเป็นแถวถี่ ๆ ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแดงมีลายเล็ก ๆ สีดำกระจายบริเวณท้องและสีข้าง ตัวผู้บริเวณแก้มมีแถบสีแดง ตัวเมียไม่มีแถบดังกล่าว | ||
+ | |||
+ | '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น และป่ารุ่น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเลมักพบอยู่เป็นคู่ มันชอบเกาะบนรังมดให้มดมาไต่ตามร่างกาย จากนั้นมันจะกระโดดไปกิ่งไม้ใกล้เคียง แล้วใช้ปากจับมดกินเป็นอาหาร ปกติบริเวณหัว ท้อง และปลายหางของมันมีน้ำยางเหนียวซึ่งมีกลิ่นแรง มดชอบมาตอมน้ำยางนี้ ยังไม่ทราบหน้าที่แท้จริงของน้ำยางนี้แน่ชัด นอกจากนี้นกหัวขวานสีตาลยังกินผลไม้บางชนิดโดยเฉพาะลูกไทรและน้ำหวานตอกไม้โดยเฉพาะทองหลางป่าและงิ้ว นกหัวขวานสีตาลมีพฤติกรรมใช้ปากเคาะต้นไม้เช่นเดียวกับนกหัวขวานอื่น ส่วนใหญ่ตัวผู้เท่านั้นที่เคาะไม้ และจะเคาะบ่อยมากในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มันเริ่มด้วยการบินมาเกาะตามต้นไม้ แล้วเคาะต้นไม้ด้วยความถี่ 10-12 ครั้งต่อวินาที ติดต่อกันนาน 10-15 วินาที เมื่อเคาะเสร็จแล้ว มันจะหันหัวไปมาเพื่อฟังเสียงตอบกลับและมองหาที่มาของเสียงนั้น มันอาจจะเคาะที่จุดเดิมต่อไปอีก หรือบินไปเคาะที่ต้นไม้ต้นอื่น การเคาะต้นไม้ดังกล่าวอาจเป็นการประกาศอาณาเขต ดึงดูดเพศเมีย หรือหาอาหาร | ||
+ | |||
+ | '''การผสมพันธุ์''' : นกหัวขวานสีตาลผสมพันธ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนทำรังตามรังมดที่อยู่บนต้นไม้ มันจะใช้ปากเจาะด้านข้างของรังมด แล้วทำเป็นโพรงภายใน รังมดที่มันเจาะทำรังส่วนใหญ่มีมดอาศัยอยู่ รังมีไข่ 2-3 ฟอง | ||
+ | |||
+ | '''ไข่''' : สีขาว รูปร่างค่อนข้างยาว มีขนาดเฉลี่ย 20.1x28.2 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 14-15 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่มีขนปกคลุมร่างกาย การที่มันทำรังในรังมดอาจเป็นเพราะต้องการใช้ไข่และตัวอ่อนของมดเป็นแหล่งอาหารสำหรับตัวเองและลูกนกโดยไม่ต้องไปหาอาหารที่อื่น ประมาณ 30-40 วันหลังออกจากไข่ ลูกนกจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง | ||
+ | |||
+ | '''สถานภาพ''' : นกหัวขวานสีตาลเป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย phaioceps พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย williamsoni พบทางภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้เหนือคอคอดกระ และชนิดย่อย squamigularis พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป | ||
+ | |||
+ | '''กฎหมาย''' : จัดนกหัวขวานสีตาลทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | ---- |
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 08:12, 9 ธันวาคม 2558
วงศ์ : Celeus Boie
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Celeus brachyurus (Vieillot) 1818.
ชื่อสามัญ : Rufous Woodpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -
นกหัวขวานสีตาลมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Celeus brachyurus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ brachy หรือ brakhus แปลว่าสั้นและ ur,=a,-o หรือ –ouros แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางสั้น” พลครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกหัวขวานสีตาล 12 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อยคือ
- Celeus brachyurus phaioceps Blyth ชื่อชนิดย่อยมาจากคำว่า phae,-o หรือ phaios เป็นรากศัพท์ภาษากรีกแปลว่าสีเทา และ =ceps เป็นรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่ แปลว่าหัว ความหมายคือ “นกที่มีหัวสีเทา” พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย
- Celeus brachyurus williamsoni Boden Kloss ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นักปักษีวิทยาบางท่านก็จัดชนิดย่อย williamsoni เป็นชื่อพ้องของชนิดย่อย phaioceps แต่บางท่านก็ถือเป็นคนละชนิดย่อยกัน
- Celeus brachyurus squamigularis (Sundevall) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ squam, =a, -at, -I, -o แปลว่าเกล็ด และ gularis (gul, =a) แปลว่าคอหอย ความหมายคือ “บริเวณคอหอยมีลายคล้ายเกล็ด” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย
กระจายพันธุ์ : ในเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (25 ซม.) ปากสีดำ หัวสีน้ำตาลเข้มแกมเขียว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดงเข้มมีลายเล็ก ๆ สีดำเรียงเป็นแถวถี่ ๆ ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแดงมีลายเล็ก ๆ สีดำกระจายบริเวณท้องและสีข้าง ตัวผู้บริเวณแก้มมีแถบสีแดง ตัวเมียไม่มีแถบดังกล่าว
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น และป่ารุ่น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเลมักพบอยู่เป็นคู่ มันชอบเกาะบนรังมดให้มดมาไต่ตามร่างกาย จากนั้นมันจะกระโดดไปกิ่งไม้ใกล้เคียง แล้วใช้ปากจับมดกินเป็นอาหาร ปกติบริเวณหัว ท้อง และปลายหางของมันมีน้ำยางเหนียวซึ่งมีกลิ่นแรง มดชอบมาตอมน้ำยางนี้ ยังไม่ทราบหน้าที่แท้จริงของน้ำยางนี้แน่ชัด นอกจากนี้นกหัวขวานสีตาลยังกินผลไม้บางชนิดโดยเฉพาะลูกไทรและน้ำหวานตอกไม้โดยเฉพาะทองหลางป่าและงิ้ว นกหัวขวานสีตาลมีพฤติกรรมใช้ปากเคาะต้นไม้เช่นเดียวกับนกหัวขวานอื่น ส่วนใหญ่ตัวผู้เท่านั้นที่เคาะไม้ และจะเคาะบ่อยมากในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มันเริ่มด้วยการบินมาเกาะตามต้นไม้ แล้วเคาะต้นไม้ด้วยความถี่ 10-12 ครั้งต่อวินาที ติดต่อกันนาน 10-15 วินาที เมื่อเคาะเสร็จแล้ว มันจะหันหัวไปมาเพื่อฟังเสียงตอบกลับและมองหาที่มาของเสียงนั้น มันอาจจะเคาะที่จุดเดิมต่อไปอีก หรือบินไปเคาะที่ต้นไม้ต้นอื่น การเคาะต้นไม้ดังกล่าวอาจเป็นการประกาศอาณาเขต ดึงดูดเพศเมีย หรือหาอาหาร
การผสมพันธุ์ : นกหัวขวานสีตาลผสมพันธ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนทำรังตามรังมดที่อยู่บนต้นไม้ มันจะใช้ปากเจาะด้านข้างของรังมด แล้วทำเป็นโพรงภายใน รังมดที่มันเจาะทำรังส่วนใหญ่มีมดอาศัยอยู่ รังมีไข่ 2-3 ฟอง
ไข่ : สีขาว รูปร่างค่อนข้างยาว มีขนาดเฉลี่ย 20.1x28.2 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 14-15 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่มีขนปกคลุมร่างกาย การที่มันทำรังในรังมดอาจเป็นเพราะต้องการใช้ไข่และตัวอ่อนของมดเป็นแหล่งอาหารสำหรับตัวเองและลูกนกโดยไม่ต้องไปหาอาหารที่อื่น ประมาณ 30-40 วันหลังออกจากไข่ ลูกนกจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง
สถานภาพ : นกหัวขวานสีตาลเป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย phaioceps พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย williamsoni พบทางภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้เหนือคอคอดกระ และชนิดย่อย squamigularis พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย : จัดนกหัวขวานสีตาลทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง