ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกจาบคาหัวเขียว"
(สร้างหน้าว่าง) |
|||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
+ | [[ไฟล์:Merops_philippinus01.jpg|right]] | ||
+ | '''วงศ์''' : Meropidae <br> | ||
+ | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Merops philippinus'' (Linnaeus), 1766<br> | ||
+ | '''ชื่อสามัญ''' : Blue-tailed bee-eater<br> | ||
+ | '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Brown-breasted bee-eater , Green headed bee-eater<br><br> | ||
+ | นกจาบคาหัวเขียวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Merops philippinus'' ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือประเทศฟิลิปปินส์ นกจาบคาหัวเขียวมีชื่อพ้องว่า Merops superciliosus Linnaeus ชื่อพ้องมาจากคำในภาษาละตินคือ superciliosus หรือ supercilious แปลว่าคิ้ว (cili, -a, -o, =um แปลว่าหน้าตาขนดา หรือขนเล็ก ๆ และ –os, =a, =um, =us แปลว่าเต็มไปด้วย) ความหมายคือ “นกที่มีคิ้วเด่นชัด” ทั่วโลกมีนกจาบคาหัวเขียว 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Merops philippinus javanicus Horsfield ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกคือเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียนักปักษีวิทยาบางท่านจัดชนิดย่อยนี้เป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกันกับ Merops philippinus philippinus Linnaeus | ||
+ | |||
+ | '''กระจายพันธุ์''' : ในอินเดีย จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ฟิลิปปินส์ และนิวกินี | ||
+ | |||
+ | '''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (30 ซม.) เฉพาะขนหางคู่กลางยาว 12 ซม. ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน ตัวเต็มวัยบริเวณหัวสีเขียว แถบคาดตาสีดำ ใต้แถบเป็นสีขาว คอหอยสีออกเหลืองระหว่างคอหอยและอกมีแถบกว้างสีน้ำตาลแดง ลำตัวสีเขียวอมเหลือง ปีกสีเขียวและมีสีฟ้าแซม ตะโพกและหางสีฟ้า ตัวไม่เต็มวัยแถบระหว่างคอหอยและอกมีสีทึมกว่าของตัวเต็มวัย และขนหางคู่กลางไม่งอกยาวอย่างในตัวเต็มวัย | ||
+ | |||
+ | '''อุปนิสัยและอาหาร''' : อาศัยอยู่ตามพื้นที่โล่งทั่วไปและบริเวณใกล้แหล่งน้ำ เช่น บึง หนอง ทะเลสาบ ทุ่งนา เป็นต้น ปกติพบในระดับพื้นราบ แต่อาจพบได้ที่ความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีกิจกรรมในเวลากลางวัน มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบอยู่เป็นฝูง มักพบมันเกาะตามสายไฟฟ้า กิ่งไม้แห้ง หรือตอไม้ ขณะเกาะลำตัวตั้งเกือบตรง นกจาบคอหัวเขียวเป็นนกที่บินได้ดีมากและบินได้เร็ว บางครั้งก็ร่อน อาหาร ได้แก่ แมลงที่บินได้ต่าง ๆ มันหาอาหารโดยเกาะตามกิ่งไม้หรือสายไฟฟ้า คอยจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบมันจะบินใช้ปากโฉบจับกลางอากาศ แล้วมาเกาะที่เดิม ถ้าเป็นแมลงขนาดเล็กมันจะกลืนทันที หากเป็นแมลงขนาดใหญ่มันจะคาบจนกระทั่งเหยื่อตายแล้วใช้กรงเล็บจับและใช้ปากเด็ดปีกแมลงทิ้ง จากนั้นมันจึงกลืนแมลงทั้งตัว หากแมลงมีขนาดใหญ่กว่าจะกินได้หมดในครั้งเดี่ยว มันอาจฉีกกินเป็นชิ้น ๆ | ||
+ | |||
+ | '''การผสมพันธุ์''' : นกจาบคาหัวเขียวผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ในช่วงนี้ขณะพบมันอยู่เป็นคู่ และบ่อยครั้งก็พบมันร่อนบนอากาศโดยไม่โฉบอาหาร ซึ่งอาจเป็นการเกี้ยวพาราสีแบบหนึ่ง ทั้งสองเพศช่วยกันทำรังโดยใช้ปากและเล็บขุดดินให้เป็นโพรงตามฝั่งแม่น้ำ ลำคลองหน้าผาดิน หรือเนินดิน ปากโพรงกว้าง 4-6 ซม. โพรงลึกประมาณ 1-2 เมตร ด้านในสุดเป็นโพรงขนาดใหญ่สำหรับวางไข่ ปกติไม่มีวัสดุรองโพรง | ||
+ | |||
+ | '''ไข่''' : มีรูปร่างค่อนข้างกลม สีขาวนวล มีขนาดเฉลี่ย 19.2x23.1 มม. รังมีไข่ 4-5 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ จะเริ่มฟักหลังจากออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 12-14 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา ไม่มีขนปกคลุมลำตัว และยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องคอยช่วยกันกกและหาอาหารมาป้อนลูกนกเจริญเติบโตและพัฒนาขนปกคลุมลำตัวค่อนข้างเร็ว ประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังออกจากไข่พวกมันจะเริ่มหัดบิน แล้วแยกจากพ่อแม่ไปหากินตามลำพังและทิ้งรังในที่สุด แต่พ่อแม่ยังคงใช้รังต่อไปอีกระยะหนึ่งเหมือนนกจาบคาอื่น | ||
+ | |||
+ | '''สถานภาพ''' : นกจาบคาหัวเขียวเป็นทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพมาทำรังวางไข่ นกอพยพผ่าน และนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณปานกลางเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ||
+ | |||
+ | '''กฎหมาย''' :จัดนกจาบคาหัวเขียวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | ---- | ||
+ | [[ไฟล์:Merops_philippinus02.jpg]] [[ไฟล์:Merops_philippinus03.jpg]] [[ไฟล์:Merops_philippinus04.jpg]] | ||
+ | ---- | ||
+ | '''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c6/Merops_philippinus,_Ridiyagama,_Sri_Lanka.jpg<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/1e/Blue_tailed_bee_eater_-_Merops_philippinus_couples_-_Mavoor.jpg<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c0/Blue-tailed_Bee-eater_Merops_philippinus_by_Dr._Raju_Kasambe_DSC_4519_(3).JPG<br> | ||
+ | https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/14/Merops_philippinus_6.jpg<br> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 11:13, 25 มกราคม 2559
วงศ์ : Meropidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Merops philippinus (Linnaeus), 1766
ชื่อสามัญ : Blue-tailed bee-eater
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Brown-breasted bee-eater , Green headed bee-eater
นกจาบคาหัวเขียวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Merops philippinus ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือประเทศฟิลิปปินส์ นกจาบคาหัวเขียวมีชื่อพ้องว่า Merops superciliosus Linnaeus ชื่อพ้องมาจากคำในภาษาละตินคือ superciliosus หรือ supercilious แปลว่าคิ้ว (cili, -a, -o, =um แปลว่าหน้าตาขนดา หรือขนเล็ก ๆ และ –os, =a, =um, =us แปลว่าเต็มไปด้วย) ความหมายคือ “นกที่มีคิ้วเด่นชัด” ทั่วโลกมีนกจาบคาหัวเขียว 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Merops philippinus javanicus Horsfield ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกคือเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียนักปักษีวิทยาบางท่านจัดชนิดย่อยนี้เป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกันกับ Merops philippinus philippinus Linnaeus
กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ฟิลิปปินส์ และนิวกินี
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (30 ซม.) เฉพาะขนหางคู่กลางยาว 12 ซม. ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน ตัวเต็มวัยบริเวณหัวสีเขียว แถบคาดตาสีดำ ใต้แถบเป็นสีขาว คอหอยสีออกเหลืองระหว่างคอหอยและอกมีแถบกว้างสีน้ำตาลแดง ลำตัวสีเขียวอมเหลือง ปีกสีเขียวและมีสีฟ้าแซม ตะโพกและหางสีฟ้า ตัวไม่เต็มวัยแถบระหว่างคอหอยและอกมีสีทึมกว่าของตัวเต็มวัย และขนหางคู่กลางไม่งอกยาวอย่างในตัวเต็มวัย
อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามพื้นที่โล่งทั่วไปและบริเวณใกล้แหล่งน้ำ เช่น บึง หนอง ทะเลสาบ ทุ่งนา เป็นต้น ปกติพบในระดับพื้นราบ แต่อาจพบได้ที่ความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีกิจกรรมในเวลากลางวัน มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบอยู่เป็นฝูง มักพบมันเกาะตามสายไฟฟ้า กิ่งไม้แห้ง หรือตอไม้ ขณะเกาะลำตัวตั้งเกือบตรง นกจาบคอหัวเขียวเป็นนกที่บินได้ดีมากและบินได้เร็ว บางครั้งก็ร่อน อาหาร ได้แก่ แมลงที่บินได้ต่าง ๆ มันหาอาหารโดยเกาะตามกิ่งไม้หรือสายไฟฟ้า คอยจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบมันจะบินใช้ปากโฉบจับกลางอากาศ แล้วมาเกาะที่เดิม ถ้าเป็นแมลงขนาดเล็กมันจะกลืนทันที หากเป็นแมลงขนาดใหญ่มันจะคาบจนกระทั่งเหยื่อตายแล้วใช้กรงเล็บจับและใช้ปากเด็ดปีกแมลงทิ้ง จากนั้นมันจึงกลืนแมลงทั้งตัว หากแมลงมีขนาดใหญ่กว่าจะกินได้หมดในครั้งเดี่ยว มันอาจฉีกกินเป็นชิ้น ๆ
การผสมพันธุ์ : นกจาบคาหัวเขียวผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ในช่วงนี้ขณะพบมันอยู่เป็นคู่ และบ่อยครั้งก็พบมันร่อนบนอากาศโดยไม่โฉบอาหาร ซึ่งอาจเป็นการเกี้ยวพาราสีแบบหนึ่ง ทั้งสองเพศช่วยกันทำรังโดยใช้ปากและเล็บขุดดินให้เป็นโพรงตามฝั่งแม่น้ำ ลำคลองหน้าผาดิน หรือเนินดิน ปากโพรงกว้าง 4-6 ซม. โพรงลึกประมาณ 1-2 เมตร ด้านในสุดเป็นโพรงขนาดใหญ่สำหรับวางไข่ ปกติไม่มีวัสดุรองโพรง
ไข่ : มีรูปร่างค่อนข้างกลม สีขาวนวล มีขนาดเฉลี่ย 19.2x23.1 มม. รังมีไข่ 4-5 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ จะเริ่มฟักหลังจากออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 12-14 วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา ไม่มีขนปกคลุมลำตัว และยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องคอยช่วยกันกกและหาอาหารมาป้อนลูกนกเจริญเติบโตและพัฒนาขนปกคลุมลำตัวค่อนข้างเร็ว ประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังออกจากไข่พวกมันจะเริ่มหัดบิน แล้วแยกจากพ่อแม่ไปหากินตามลำพังและทิ้งรังในที่สุด แต่พ่อแม่ยังคงใช้รังต่อไปอีกระยะหนึ่งเหมือนนกจาบคาอื่น
สถานภาพ : นกจาบคาหัวเขียวเป็นทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพมาทำรังวางไข่ นกอพยพผ่าน และนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณปานกลางเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กฎหมาย :จัดนกจาบคาหัวเขียวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c6/Merops_philippinus,_Ridiyagama,_Sri_Lanka.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/1e/Blue_tailed_bee_eater_-_Merops_philippinus_couples_-_Mavoor.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c0/Blue-tailed_Bee-eater_Merops_philippinus_by_Dr._Raju_Kasambe_DSC_4519_(3).JPG
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/14/Merops_philippinus_6.jpg