ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกปรอดสวน"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าว่าง)
 
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน)
แถว 1: แถว 1:
 +
[[File:Pycnonotus blanfordi01.jpg|right]]
 +
'''วงศ์''' : Pycnonotidae <br>
 +
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Pycnonotus blanfordi'' (Jerdon), 1862.<br>
 +
'''ชื่อสามัญ''' : Streak-eared bulbul<br>
 +
'''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Blanford’s bulbul , Blanford’s olive bulbul<br><br>
  
 +
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Pycnonotus blanfordi'' ชื่อชนิดมาจากชื่อของ W.T. Blanford (ค.ศ.1832-1905) นักธรณีวิทยา นักสัตววิทยา และนักสะสมตัวอย่างสัตว์ชาวอังกฤษ  พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า  ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย  ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Pycnonotus blanfordi conradi (Finsch)  ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล  พบครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร
 +
 +
'''กระจายพันธุ์''' : เป็นนกเฉพาะถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นมาเลเซียตอนใต้ พม่าด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และเวียดนามตอนเหนือ
 +
 +
'''ลักษณะทั่วไป''' : เป็นนกขนาดเล็ก (20 ซม.)  ลักษณะไม่แตกต่างจากนกปรอดสีไพลใหญ่ แต่สีโดยทั่วไปจางและออกเป็นสีเขียวอมเหลืองมากกว่า  บริเวณหูมีลายขีดสีขาวและมักเด่นชัดกว่า  ตาสีเทา ปีกสีเขียว  ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองอ่อน  ตัวไม่เต็มวัยตาสีน้ำตาล
 +
 +
'''อุปนิสัยและอาหาร''' : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่ารุ่น ป่าละเมาะ สวนผลไม้ แหล่งกสิกรรม รวมถึงในหมู่บ้านและเมือง  พบในระดับต่ำจนกระทั่งเชิงเขาระดับความสูงประมาณ 915 เมตรจากระดับน้ำทะเล  มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ  หากินตามต้นผลไม้ ไม้พุ่ม และลงมายังพื้นดินเป็นครั้งคราว  มักเกาะในบริเวณที่โล่ง  ในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนอาจหลบตามพุ่มไม้  อาหารได้แก่ ผลไม้ เช่น ไทร หว้า ชมพู่ มะละกอ มะม่วง ผลตำลึงสุก เป็นต้น  สำหรับผลไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักจะเกาะตามกิ่งไม้ที่มีผลสุก ใช้ปากเด็ดผลไม้ออกจากขั้วแล้วกลืนกินทั้งผล  สำหรับผลไม้ที่มีขนาดใหญ่จะใช้ปากจิกกินทีละชิ้น  นอกจากนี้ยังจิกกินแมลงและตัวหนอนตามลำต้น กิ่งก้าน และยอดไม้ บางครั้งไล่จิกกินตามพื้นดิน และบ่อยครั้งที่โฉบจับแมลงกลางอากาศ แต่ไม่ไกลจากที่เกาะมากนัก
 +
 +
'''การผสมพันธุ์''' : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน  รังเป็นรูปถ้วยประกอบด้วยใบไม้แห้ง ใบหญ้าแห้ง เส้นใบมะพร้าว และวัสดุเยื่อใยอื่น  รังอยู่ตามต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะไม้ผล เช่น ขนุน กระท้อน ชมพู่ มะม่วง ข่อย เป็นต้น  รังอยู่สูงจากพื้นดิน 2.5-4.5 เมตร กว้าง 5.5 ซม. และลึก 2.3 ซม.  รังมีไข่ 2-3 ฟอง 
 +
 +
'''ไข่''' : สีเนื้ออ่อน มีลายจุดสีน้ำตาลแดงทั่วฟอง  ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 16.2x22.9 มม.  ทั้งสองเพศช่วยกันสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน  จะเริ่มฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก  ใช้เวลาฟักไข่ 12-14 วัน  ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุมลำตัว  พ่อแม่จะช่วยกันหาอาหารมาป้อน ซึ่งในระยะแรกเป็นตัวหนอน และแมลง  เมื่อลูกนกโตพอประมาณจึงหาผลไม้มาป้อน  ประมาณ 14-16 วันลูกนกจะโต แข็งแรง บินได้ และทิ้งรังไปในที่สุด
 +
 +
'''สถานภาพ''' : เป็นนกประจำถิ่น  พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค
 +
 +
'''กฎหมาย''' : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
----

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 06:07, 29 ธันวาคม 2558

Pycnonotus blanfordi01.jpg

วงศ์ : Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnonotus blanfordi (Jerdon), 1862.
ชื่อสามัญ : Streak-eared bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Blanford’s bulbul , Blanford’s olive bulbul

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus blanfordi ชื่อชนิดมาจากชื่อของ W.T. Blanford (ค.ศ.1832-1905) นักธรณีวิทยา นักสัตววิทยา และนักสะสมตัวอย่างสัตว์ชาวอังกฤษ พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Pycnonotus blanfordi conradi (Finsch) ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร

กระจายพันธุ์ : เป็นนกเฉพาะถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นมาเลเซียตอนใต้ พม่าด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และเวียดนามตอนเหนือ

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (20 ซม.) ลักษณะไม่แตกต่างจากนกปรอดสีไพลใหญ่ แต่สีโดยทั่วไปจางและออกเป็นสีเขียวอมเหลืองมากกว่า บริเวณหูมีลายขีดสีขาวและมักเด่นชัดกว่า ตาสีเทา ปีกสีเขียว ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองอ่อน ตัวไม่เต็มวัยตาสีน้ำตาล

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่ารุ่น ป่าละเมาะ สวนผลไม้ แหล่งกสิกรรม รวมถึงในหมู่บ้านและเมือง พบในระดับต่ำจนกระทั่งเชิงเขาระดับความสูงประมาณ 915 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินตามต้นผลไม้ ไม้พุ่ม และลงมายังพื้นดินเป็นครั้งคราว มักเกาะในบริเวณที่โล่ง ในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนอาจหลบตามพุ่มไม้ อาหารได้แก่ ผลไม้ เช่น ไทร หว้า ชมพู่ มะละกอ มะม่วง ผลตำลึงสุก เป็นต้น สำหรับผลไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักจะเกาะตามกิ่งไม้ที่มีผลสุก ใช้ปากเด็ดผลไม้ออกจากขั้วแล้วกลืนกินทั้งผล สำหรับผลไม้ที่มีขนาดใหญ่จะใช้ปากจิกกินทีละชิ้น นอกจากนี้ยังจิกกินแมลงและตัวหนอนตามลำต้น กิ่งก้าน และยอดไม้ บางครั้งไล่จิกกินตามพื้นดิน และบ่อยครั้งที่โฉบจับแมลงกลางอากาศ แต่ไม่ไกลจากที่เกาะมากนัก

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน รังเป็นรูปถ้วยประกอบด้วยใบไม้แห้ง ใบหญ้าแห้ง เส้นใบมะพร้าว และวัสดุเยื่อใยอื่น รังอยู่ตามต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะไม้ผล เช่น ขนุน กระท้อน ชมพู่ มะม่วง ข่อย เป็นต้น รังอยู่สูงจากพื้นดิน 2.5-4.5 เมตร กว้าง 5.5 ซม. และลึก 2.3 ซม. รังมีไข่ 2-3 ฟอง

ไข่ : สีเนื้ออ่อน มีลายจุดสีน้ำตาลแดงทั่วฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 16.2x22.9 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน จะเริ่มฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ 12-14 วัน ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ยังไม่มีขนคลุมลำตัว พ่อแม่จะช่วยกันหาอาหารมาป้อน ซึ่งในระยะแรกเป็นตัวหนอน และแมลง เมื่อลูกนกโตพอประมาณจึงหาผลไม้มาป้อน ประมาณ 14-16 วันลูกนกจะโต แข็งแรง บินได้ และทิ้งรังไปในที่สุด

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง