ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อีกา"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
แถว 1: แถว 1:
 
+
[[ไฟล์:Corvus_macrorhynchos01.jpg|right]]
 
'''วงศ์''' : Corvinae <br>
 
'''วงศ์''' : Corvinae <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Corvus macrorhynchos'' (Wagler),1827. <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Corvus macrorhynchos'' (Wagler),1827. <br>
แถว 21: แถว 21:
 
'''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
'''กฎหมาย''' :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
----
 
----
 +
[[ไฟล์:Corvus_macrorhynchos02.jpg]]  [[ไฟล์:Corvus_macrorhynchos03.jpg]] 
 +
----
 +
'''แหล่งที่มาของภาพ'''<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/fe/Jungle-crow-corvus-macrorhynchos.jpg<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/37/Corvus_macrorhynchos_japonensis.JPG<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/26/Large-billed_Crow_(Corvus_macrorhynchos)_feeding_on_Semal_(Bombax_ceiba)_at_Bharatpur_I_IMG_5780.jpg<br>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 15:45, 25 มกราคม 2559

Corvus macrorhynchos01.jpg

วงศ์ : Corvinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corvus macrorhynchos (Wagler),1827.
ชื่อสามัญ : Large-billed crow
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : กา , Jungle crow

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Corvus macrorhynchos ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ macr,-o หรือ makros แปลว่าใหญ่หรือยาว และ rhynch,-o,=us หรือ rhunkhos แปลว่าปาก ความหมายคือ ”นกที่มีปากใหญ่” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียทั่วโลกมี 14 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Corvus macrorhynchos macrorhynchos wagler ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด และ Corvus macrorhychos levaillantii Lesson ชื่อชนิดข่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคลพบครั้งแรกที่รัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย

กระจายพันธุ์ : ในอิหร่านตะวันออก จนถึงจีนเอเชียตะวันออกเฉียวใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดา และฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดกลาง (51 ซม.) มีสีดำทั่วตัว จะมองเห็นเป็นมันเมื่อมีแสงจัด ปากใหญ่สันบนโค้งมาก

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามทุ่งโล่ง ในเมืองชายทะเล และป่าโปร่ง ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ อาจพบเป็นฝูงใหญ่ในบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณที่แหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ เป็นนกที่คุ้นเคยกันมากชนิดหนึ่งเพราะอาศัยและหากินใกล้บ้านเรือนคน นอกจากนี้สีสันและเสียงร้องที่เป็นแบบฉบับของตนเองก็ยิ่งทำให้คุ้นเคยกันมากยิ่งขึ้น อีกาเป็นนกที่ออกหากินตั้งแต่เช้าตรู่และกลับรังหรือแหล่งอาศัยช่วงเย็นค่ำ ปกติเป็นนักสะสมอาหาร โดยนำอาหารที่หาได้มาซ่อมตามหลืบโพรงของต้นไม้และสิ่งก่อสร้างบางครั้งขุดดินฝังไว้ และจะคอยเฝ้าไม่ให้นกหรือสัตว์อื่นมาแย่งหรือเข้าใกล้แหล่งที่ซ่อนอาหาร บางครั้งก็เข้าโจมตีเมื่อมีการลุกล้ำ ในขณะเดียวกันอีกาก็เป็นขโมยที่เก่งชนิดหนึ่งโดยเฉพาะจะขโมยไข่และลูกนกขณะที่แม่นกออกจากรัง หรือขโมยอาหารที่นกและสัตว์อื่นสะสมหรือซุกซ่อนเอาไว้ รวมทั้งอาหารของคน อีกากินทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นข้าวสุก ผลไม้ แมลง ตัวหนอน ไข่ ลูกนก กบ เขียด กิ้งก่า แย้ และซากสัตว์ อีกาเป็นนกที่มีสายตาที่ดีมากชนิดหนึ่ง บางครั้งมักจะเห็นซากสัตว์ก่อนสัตว์อื่น และจะเป็นตัวนำทำให้แร้งและสัตว์บางชนิดทราบตำแหน่งซากสัตว์ได้

การผสมพันธุ์ : ผสมพันธุ์ในฤดูร้อนจนถึงฤดูฝนระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องที่ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม รังเป็นแบบง่าย ๆ โดยใช้กิ่งไม้มาวางซ้อนกัน ทำตรงกลางให้เป็นแอ่งแล้วรองพื้นด้วยขนนก ปุยฝ้าย หรือวัสดุที่อ่อนนุ่ม รังมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-18 ซม. ลึก 10-14 ซม. ทำรังตามง่ามหรือกิ่งไม้ที่อยู่ในระดับสูงประมาณ 7-10 เมตร รังมีไข่ 3-5 ฟอง ไข่สีเขียวแกมน้ำเงิน มีลายขีดสีน้ำตาลขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 28.1x38.0 มม. วางไข่ตอนเช้าตรู่ ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน จะเริ่มฟักเมื่อออกไข่ฟองสุดท้ายของรังแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ 17-19 วัน ปกติ 18 วัน หลังออกจากไข่ประมาณ 1-4 สัปดาห์ลูกอ่อนจะมีขนขึ้นเต็มตัว บินได้ และทิ้งรังไปในที่สุด

ไข่ : อีกาเป็นนกที่ถูกนกกาเหว่าวางไข่และให้ฟักไข่แทนมากที่สุด โดยนกกาเหว่าตัวเมียจะวางไข่ในตอนสายหลังจากที่อีกาออกจากรังไปแล้ว ก่อนวางไข่นกกาเหว่าตัวเมียจะทำลายไข่ของอีกาทุกครั้ง ครั้งละ 1 ฟอง แล้ววางไข่ของมันแทน ปกตินกกาเหว่าจะวางไข่เพียง 1 ฟองในรังอีกาแต่ละรัง แต่อาจมีนกกาเหว่าตัวอื่นมาวางไข่ในรังอีกาในรังเดียวกันได้ลูกนกกาเหว่าที่อีกาฟักออกเป็นตัวแล้วมักทำลายไข่ของอีกาที่เหลืออยู่หรือลูกของอีกาเสมอ รังอีกาบางรังพบลูกนกกาเหว่าเพียง 1 ตัว และพ่อแม่อีกายังคงเลี้ยงดูอยู่

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย levaillantii พบทั่วทุกภาคและใต้สุดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชนิดย่อย macrorhynchos พบทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป

กฎหมาย :จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Corvus macrorhynchos02.jpg Corvus macrorhynchos03.jpg


แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/fe/Jungle-crow-corvus-macrorhynchos.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/37/Corvus_macrorhynchos_japonensis.JPG
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/26/Large-billed_Crow_(Corvus_macrorhynchos)_feeding_on_Semal_(Bombax_ceiba)_at_Bharatpur_I_IMG_5780.jpg