ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกขมิ้นท้ายทอยดำ"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แถว 1: แถว 1:
Oriolus Chinensis Linnaeus01
+
[[File:Oriolus Chinensis Linnaeus01.jpg|right]]
 
+
 
'''วงศ์''' : Corvinae<br>
 
'''วงศ์''' : Corvinae<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : Oriolus Chinensis (Linnaeus),1766.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : Oriolus Chinensis (Linnaeus),1766.<br>

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 06:03, 29 ธันวาคม 2558

Oriolus Chinensis Linnaeus01.jpg

วงศ์ : Corvinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oriolus Chinensis (Linnaeus),1766.
ชื่อสามัญ : Black-naped oriole
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oriolus chinensis ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศจีน ทั่วโลกมี 22 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Oriolus chinensis diffuses Bowdler Sharpe ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ diffuses แปลว่าขยาย ความหมายคือ “สีดำบริเวณท้ายทอยมีขนาดใหญ่” พบครั้งแรกที่ประเทศจีนเช่นเดียวกัน

กระจายพันธุ์ : ในอินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (27 ซม.) สีสันโดยทั่วไปเป็นสีเหลืองแกมทอง มีลายแถบสีดำพาดผ่านตาไปจนถึงท้ายทอย ปีกและหางสีดำ ปากอ้วน สั้น ความยาวประมาณ 28-31 มม. ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีเหลืองจางแต่เป็นสีเหลืองมากกว่าบริเวณไหล่ที่มีสีเหลืองแกมเขียวตัวเมียและตัวที่เกือบจะเต็มวัยลักษณะคล้ายตัวผู้แต่สีสันบริเวณช่วงไหล่จะออกเป็นสีเขียวแกมเหลืองมากกว่า ตัวไม่เต็มวัยลำตัวด้านบนสีเขียวแกมเหลือง ลำตัวด้านล่างสีครีมมีลายขีดสีดำ ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลือง

อุปนิสัยและอาหาร : อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชั้นป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลนสวนผลไม้ ป่าละเมาะ และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้เนื้ออ่อน เช่น ไทร หว้า โดยการจิกกินหรือเด็ดผลออกจากกิ่งแล้วกลืนกินทั้งผล นอกจากนี้ยังกินน้ำหวาน มักพบมันกินตัวหนอนและแมลงโดยการจิกกินตามกิ่งไม้ บางครั้งลงมาจิกกินบนพื้นดินในช่วงกลางวันมักหลบซ่อนภายในพุ่มเรือนยอดไม้ค่อยเห็นตัวนอกจากได้ยินเสียงร้องในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำจะเห็นตัวได้บ่อยขึ้นเพาะเป็นช่วงที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ

การผสมพันธุ์ : ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย นกบางส่วนที่เป็นนกประจำถิ่นน่าจะมีชีววิทยาการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างจากนกขมิ้นหัวดำใหญ่

สถานภาพ : เป็นนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนแต่อาจมีบางส่วนที่เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบทั่วทุกภาค

กฎหมาย : จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง