ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกระเต็นน้อยธรรมดา"

จาก ฐานข้อมูลนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในบางอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
แถว 1: แถว 1:
 +
[[ไฟล์:Alcedo_atthis01.jpg|right]]
 
'''วงศ์''' : Alcedinidae <br>
 
'''วงศ์''' : Alcedinidae <br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Alcedo atthis'' (Linnaeus) 1758.<br>
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Alcedo atthis'' (Linnaeus) 1758.<br>
แถว 20: แถว 21:
 
'''กฎหมาย''' : จัดนกกระเต็นน้อยธรรมดาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง  
 
'''กฎหมาย''' : จัดนกกระเต็นน้อยธรรมดาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง  
 
----
 
----
 +
[[ไฟล์:Alcedo_atthis02.jpg]]  [[ไฟล์:Alcedo_atthis03.jpg]]  [[ไฟล์:Alcedo_atthis04.JPG]] 
 +
----
 +
'''แหล่งที่มาของภาพ'''<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/79/Alcedo_atthis_bengalensis_s3.JPG<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a8/Alcedo_atthis_-_Khao_Yai.jpg<br>
 +
https://pixabay.com/static/uploads/photo/2015/11/29/09/06/kingfisher-1068480_960_720.jpg<br>
 +
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/ac/Alcedo_atthis_bengalensis.JPG<br>

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 09:51, 25 มกราคม 2559

Alcedo atthis01.jpg

วงศ์ : Alcedinidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alcedo atthis (Linnaeus) 1758.
ชื่อสามัญ : Common kingfisher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกกระเต็นน้อย , Small blue kingfisher , Kingfisher

นกกระเต็นน้อยธรรมดามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alcedo atthis ชื่อชนิดมาจากคำว่า Atthis ซึ่งเป็นชื่งของหญิงสาวที่มีความสวยงามแห่ง Lesbos และเป็นผู้ที่กวี Sappho ชื่นชอบ ชื่อชนิดจึงอาจหมายถึง “นกที่มีรูปร่างลักษณะสวยงาม” พบครั้งแรกที่ประเทศอียิปต์ ทั่วโลกมีนกกระเต็นน้อยธรรมดา 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Alcedo atthis bengalensis Gmelin ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรก คือรัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย

กระจายพันธุ์ : ในแหล่งสัตว์ภูมิศาสตร์พาลีอาร์กติก อินเดีย จีน เกาะไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดา ฟิลิปปินส์ และนิวกินี

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (16-17 ซม.) ปีกสั้นกว่า 8.0 ซม. แตกต่างจากนกกระเต็นเฮอคิวลิสและนกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงินตรงที่ลำตัวด้านบนสีเขียวแกมน้ำเงินเข้ม ขนบริเวณหูสีน้ำตาลเหลืองหลัง ตะโพก และขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีน้ำเงินสด ปากสีดำ บางตัวโคนขากรรไกรล่างเป็นสีแดง ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอมเหลือง คอหอยสีขาว

อุปนิสัยและอาหาร : หากินและอาศัยตามแหล่งน้ำเช่น ลำคลอง หนอง บึง บาง บ่อ ทะเลสาบ เป็นต้นและยังพบได้ตามทุ่งโล่ง ป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าดงดิบแล้งที่ใกล้กับแหล่งน้ำ มักพบอยู่โดดเดี่ยว ไม่ค่อยพบเป็นฝูง มีกิจกรรมและหากินในเวลากลางวันมันมักเกาะตามกิ่งไม้แห้ง ตอไม้ หรือเสาหลักเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำหรือใกล้แหล่งน้ำ โดยเกาะต่ำ ๆ ใกล้ระดับพื้นดินหรือผิวน้ำ ขณะเกาะลำตัวอยู่ในลักษณะเกือบตั้งตรง ปากเอียงในระดับ 45 องศากับแนวราบ นกกระเต็นน้อยธรรมดาบินได้เร็ว แต่ไม่สูงมากนัก ขณะเกาะหรือบินอาจส่งเสียงร้องเป็นเสียงแหลมกังวาน อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา ลูกอ๊อด และแมลงในน้ำ มันหาอาหารโดยเกาะตามตอไม้ กิ่งไม้ หรือหลักคอยจ้องหาเหยื่อในน้ำ เมื่อพบเหยื่อมันจะบินโฉบจับโดยใช้ปากคาบเหยื่อ บางครั้งลำตัวของมันจะจมลงไปในน้ำด้วย เมื่อได้เหยื่อมันจะบินมาเกาะที่เดิมหรือบริเวณใกล้เคียง แล้วจัดเหยื่อให้อยู่ในลักษณะที่จะกลืนได้หากเหยื่อเป็นปลา มันจะหัวปลาเข้าปาก จากนั้นมันจะกระดกปลายปากขึ้นแล้วกลืนกินเหยื่อทั้งตัว หากยังไม่อิ่ม มันจะคอยจ้องหาเหยื่อต่อไป

การผสมพันธุ์ : ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานการทำรังวางไข่ของนกกระเต็นน้อยธรรมดา Ali and Ripley (1972 b.) รายงานว่า นกกระเต็นน้อยธรรมดาในประเทศอินเดียผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลองหรือเนินดิน ทั้งสองเพศช่วยกันใช้ปากขุดดินให้เป็นโพรงโดยใช้นิ้วและเล็บช่วย โดยทั่วไปปากโพรงกว้างประมาณ 5-7 ซม. ลึก 25-100 ซม. ก้นโพรงกว้างกว่าส่วนอื่นเพื่อใช้เป็นที่วางไข่ โดยกว้างประมาณ 13-16 ซม. หรือมากกว่า ปกติไม่มีวัสดุรองโพรง

ไข่ : มีรูปร่างค่อนข้างกลม สีขาวเป็นมัน มีขนาดเฉลี่ย 17.6x20.5 มม. รังมีไข่ 5-7 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาประมาณ 19-21 วัน ลูกนกแรกเกิดไม่มีขนปกคลุมลำตัวและยังไม่ลืมตา พ่อแม่ต้องคอยช่วยกันหาอาหารมาป้อน เมื่อลูกนกแข็งแรงและบินได้ดีแล้ว พวกมันจะทิ้งรังและแยกจากพ่อแม่ไปหากินเอง แต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่พ่อแม่นกใช้เลี้ยงลูกในประเทศไทยถ้ามีนกกระเต็นน้อยธรรมดาทำรังวางไข่บ้าง ชีววิทยาการสืบพันธุ์ก็ไม่น่าจะแตกต่างกันกับนกในประเทศอินเดีย

สถานภาพ : นกกระเต็นน้อยธรรมดาส่วนใหญ่เป็นนกที่อพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์บางส่วนเป็นนกประจำถิ่น โดยเฉพาะพวกที่พบในบางแห่งทางภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค

กฎหมาย : จัดนกกระเต็นน้อยธรรมดาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Alcedo atthis02.jpg Alcedo atthis03.jpg Alcedo atthis04.JPG


แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/79/Alcedo_atthis_bengalensis_s3.JPG
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a8/Alcedo_atthis_-_Khao_Yai.jpg
https://pixabay.com/static/uploads/photo/2015/11/29/09/06/kingfisher-1068480_960_720.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/ac/Alcedo_atthis_bengalensis.JPG